fbpx

การติดยาที่มีส่วนผสม Steroid

ทำไมถึงติด ( มักง่าย หวังรวย ซวยซ้ำ ช้ำใจ )

  • มีอาการแพ้บ่อย ๆ ต้องใช้ยาทา ทาแล้วหาย ต้องทาเป็นประจำ
  • หมอดูแลผิวหนัง ให้ยาทาเพื่อรักษาสิวและฝ้าเกรงว่าจะมีอาการแพ้ยาทาหรือผลิตภัณฑ์เลยใส่ Steroid ด้วยทุกครั้งจนคนไข้ติดยา
  • หมอวินิจฉัยว่าเป็นอาการแพ้ฝุ่นแพ้ไร หน้าบางเลยให้ Steroid มาตลอด ไม่มีใครช่วยให้หยุดยาเหล่านี้ได้เหมือนถูกเลี้ยงไข้
  • คนไข้หัวอ่อน ไม่กล้าเลิกหรือปรับวิธีคิด

ปรับวิธีคิดใหม่ (คิดใหม่ ได้คิด เลิกติด เป็นเหยื่อ หลงเชื่อคนเลว)

  • ผู้ป่วยยอมหมอเหล่านั้น เท่ากับยอมเลี้ยงไข้ตนเอง หากเลิกและหาความช่วยเหลือที่ถูกต้องก็จะหาย
  • ตั้งชมรมให้ความรู้ ให้ประสบการณ์กับเพื่อน สู้ไม่ถูกต้องให้ได้
  • การไปหาหมอ ไม่ใช่เป็นการซื้อของ คลินิกไหน เริ่มต้นไปได้ดี แต่แล้วแย่ลงมากว่าเดิม ติดSteroid แหง
  • บอกหมอว่าเรามาแบ่งหน้าที่กัน สั่งเลยว่าให้ทำอะไร ในวิสัยมนุษย์ที่ทำได้จะทำ ส่วนหมอทำให้หายจะใช้เวลานานเท่าไร
  • ทำไม คนไม่รักษากลับเป็นสิวน้อยกว่า ยิ่งรักษายิ่งแย่ลง อายใจกันบ้างหรือเปล่า
  • หมอเก่งต้องรักษาโรคยาก ๆ หาย นี่อะไรแค่รักษาสิวก็ไม่หายแล้วอวดตัวว่าเป็นหมอผิวหนังมีหลายสาขา

หมอคลินิกไหนไม่ใช้ Steroid

นีตนาทคลินิก และ SVJ

ข่าวดี อีกไม่นาน นีตนาทคลินิกจะจัดให้มีห้อง Lab เพื่อเช็คว่าครีมของคลินิกใดมี Steroid หรือไม่เมื่อติดตั้งและควบคุมการตรวจเช็คได้ผลน่าเชื่อถือ 100 % แล้ว ก็จะประกาศให้ทราบ ฉะนั้น คลิกนิดใด ใช้ steroid กรุณาทราบและปรับปรุงด่วน

:: Share This ::

PDT กับแนวทางการรักษาสิว

Photodynamic therapy (PDT) เป็นวิธีการรักษาที่ใช้ 3 สิ่งสำคัญ คือ สารไวต่อแสง (Photosensitizing
drug) ,แสง (light source) ,ออกซิเจน (Oxygen) ซึ่งสารไวแสงจะสามารถซึมผ่านเฉพาะเซลล์ที่ผิดปกติ และ
สลายจากเนื้อเยื่อปกติได้เร็ว เพราะค่าครึ่งชีวิตสั้น เช่น 5- Aminolevulinic acid (ALA) ส่วนแหล่งกำเนิดแสงแบ่ง
ได้เป็น laser และ Nonlaser หลักการของการรักษาคือการเกิดปฎิกิริยาเคมีระหว่างสารไวแสง(ALA)ถูกกระตุ้นโดยแสง แล้วเกิดการสร้าง single oxygen และ Free radicals ซึ่งเป็นตัวทำลายเซลล์ ซึ่งข้อบ่งชี้ของการรักษาแบ่งออกเป็นกลุ่มใหญ่ได้เป็น 1) Benign conditions 2) Premalignant conditions 3) Malignant conditions ขณะนี้โรคที่ยอมรับจาก FDA ที่อเมริกา ว่าวิธี Photodynamic therapy ใช้ ALAในการรักษาแล้วได้ผลดี คือ Actinic keratoses ในกรณีของ nonhypertrophic actinic keratosis ที่ต้องหาวิธีมารักษา เพราะโรคนี้สามารถเปลี่ยนไปเป็นมะเร็งผิวหนังได้ และที่สำคัญวิธีนี้สามารถรักษาได้พร้อมกันหลายจุด ข้อดีไม่ต้องผ่าตัด ไม่มีแผล ต่อมาอีกโรคที่น่าสนใจคือ สิว สามารถใช้วิธีนี้รักษาได้เช่นกัน ในกรณีของสิวในรูปแบบ สิวอักเสบและสิวซีสต์เมื่อทา ALA บนหน้าทิ้งไว้แล้ว ตามด้วยการยิงเลเซอร์ Vbeam (595nm) ผลที่ได้สามารถลดจำนวนสิวที่เกิดขึ้น รวมถึงลดความมันบนใบหน้าและกระชับรูขุมขน อย่างไรก็ตามสำหรับเมืองไทยเรายังไม่มีการรับรองหรือนำสาร
ALA มาใช้ ทางนีตนาทคลินิก และ ศูนย์เลเซอร์เอสวีเจ กำลังติดตามงานวิจัย ALA หากมีข้อมูลใหม่ๆติดตามได้ทาง website www.SVJclinic.com หรือ www.netanart.com

Keywords : Photodynamic therapy , 5- Aminolevulinic acid , Pulse dye laser , Actinic keratoses , Acne

บทความโดย
แพทย์หญิง นพมณี มาลากร
Diploma in Dermatology ( Institute of Dermatology, Bangkok )
Certificate in Cutaneous and Laser Surgery ( Institute of Dermatology, Bangkok )
Certificate in Laser surgery ( Siriraj Medical school )
พบ.มหาวิทยาลัยรังสิต

:: Share This ::

ผื่นแพ้จากการใช้เครื่องสำอาง

ในปัจจุบันการดูแลรักษาผิวพรรณเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้แล้วสำหรับคนยุคใหม่ ในแต่ละคนมักจะมีผลิตภัณฑ์เสริมความงามที่ใช้อยู่อย่างน้อย 3-4ชนิดต่างลักษณะและการใช้งานเช่น ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด ครีมกันแดด ครีมหน้าขาว ครีมกระชับรูขุมขน ครีมบำรุงผิว ทั้งอยู่ในรูปครีม โลชั่น เซรั่มต่างๆ เป็นต้น การเพิ่มขึ้นของผลิตภัณฑ์ความงามเหล่านี้ยังผลให้อุบัติการณ์ของผื่นแพ้เพิ่มสูงขึ้นเป็นเงาตามตัว
ลักษณะของผื่นแพ้จากเครื่องสำอางอาจแบ่งได้คร่าวๆดังนี้

1. อาการระคายเคือง ( Irritant ) พบได้บ่อยที่สุด อาการแพ้รูปแบบนี้เกิดได้กับทุกคนที่สัมผัสสารเคมีในครีม จะมีอาการแสบร้อน ระคายเคืองยุบยิบบนผิวหนังหลังใช้เครื่องสำอางทันทีส่วนอาการคันจะมีตามหลัง ลักษณะของสารที่กระตุ้นทำให้เกิดการระคายเคืองมักอยู่ในรูปของกรดผลไม้ สาร surfactant

2. อาการแพ้ ( Allergy ) เกิดขึ้นเฉพาะบุคคลยกตัวอย่างเช่น นส. A ใช้ครีมA แล้วแพ้ แต่นส.B ใช้ครีมA แล้วไม่แพ้ สรุปคือ นส.A มีอาการแพ้ต่อครีม A อาการแพ้รูปแบบนี้จะมีอาการคันนำมาก่อนและจะมีผื่นแดง สิว ตุ่มใสร่วมด้วยได้ เกิดหลังจากใช้เครื่องสำอางเป็นระยะเวลาหนึ่งตั้งแต่1วันจนถึงเป็นปีก็ได้ อาการแพ้ allergy พบบ่อยขึ้นในปัจจุบันเนื่องจากมีการใช้สารเคมีมากขึ้น สารที่ก่อให้เกิดการแพ้ allergy ที่พบบ่อยได้แก่ น้ำหอมที่ผสมในครีม สารกันเสียในครีม

ในกรณีที่สงสัยว่าเกิดอาการแพ้ควรรีบหยุดใช้เครื่องสำอางทันทีหากอาการยังไม่ดีขึ้นควรพบแพทย์เพื่อการวินิจฉัยและรับการรักษาที่ถูกต้อง ในปัจจุบันมีการทดสอบสารภูมิแพ้ทางผิวหนัง (Patch test) ทำให้ผู้ป่วยที่มีอาการแพ้ง่ายสามารถรู้ถึงสารที่ตนเองแพ้และหลีกเลี่ยงสารภูมิแพ้ชนิดนั้น

:: Share This ::

คนเป็นสิวเลือกครีมกันแดดแบบไหนดี (sunscreen)

แดด…..ศัตรูตัวฉกาจของคนรักผิว เพราะนอกจากแดดจะทำให้เกิดปัญหาสีผิวไม่สม่ำเสมอ เช่น กระ, ฝ้า, ผิวไหม้ แพ้แดดแล้ว แสงแดดยังทำให้เกิดริ้วรอยก่อนวัยเร็วขึ้นด้วย ดังนั้นเราจึงควรทาครีมกันแดดทุกวันให้เป็นนิสัย ปัญหาคือ เราจะเลือกครีมกันแดดอย่างไรจึงเหมาะกับ สภาพผิว? เป็นคำถามที่หมอถูกถามบ่อยจากคนไข้ SVJ ที่รักษาปัญหาสิวดีขึ้นแล้วค่ะ

ครีมกันแดด (Sunscreen) แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มคือ

  • ครีมกันแดดประเภทเคมี (chemical Sunscreen) เป็นครีมกันแดดที่มีสารดูดซับรังสี UV (Ultraviolet) จากแสงแดดเปลี่ยนเป็นพลังงานความร้อนสลายไป ไม่ผ่านลงไปทำอันตรายต่อผิวเรา
  • ครีมกันแดดกายภาพ (Physical Sunscreen หรือ Non-Chemical Sunscreen) เป็นครีมกันแดดที่ออกฤทธิ์โดย Block หรือสกัดกั้นรังสี UV ไว้และสะท้อนรังสีกลับไม่ให้ผ่านเข้าสู่ผิว

ที่นี้เรามาดูกันว่าครีมกันแดดทั้ง 2 ชนิด มีข้อดี-ข้อเสีย ต่างกันอย่างไรบ้าง และเราจะเลือกใช้ครีมกันแดดอย่างไหนดีกว่ากัน

Physical Sunscreen

  • กันแสงได้หลายช่วงคลื่น ทั้ง UVA,UVAVisible light และ infrared
  • โอกาสแพ้มีน้อย
  •  ทาแล้วหน้ามักขาว บางทีอาจขาวเว่อมากได้

Chemical Sunscreen

  • กันแสงได้บางช่วงคลื่นเท่านั้น(แล้วแต่สารเคมีที่ใช้)
  • โอกาสแพ้มีมากกว่า Physical Sunscreen เนื่องจากเป็นสารกันแดดเคมีและทาแล้วอาจรู้สึกเหนียวเหนอะได้
  • ราคามักถูกกว่า Physical Sunscreen
  • เวลาทาหน้าจะไม่ขาววอกมาก

นอกจากชนิดของสารกันแดดที่เราควรรู้จักแล้ว สิ่งที่เราควรพิจารณาอีกอย่างเวลาเลือกใช้ครีมกันแดด คือ ค่าซึ่งบอกประสิทธิภาพของสารกันแดดที่เราใช้นั่นคือ Sun Protection Factor หรือที่เราได้ยินชื่อย่อกันบ่อย ๆ ว่า SPF และอีกชื่อหนึ่งคือ PA เราลองมาดูว่า SPF และ PA คืออะไร

รังสียูวีในแดด มี 2 ชนิด

1. UVA สร้างปัญหาให้ผิวได้มาก เนื่องจาก UVA ทะลุลงไปถึงชั้นหนังแท้, ทำลายคอลลาเจนได้ทำให้เกิดริ้วรอยเหี่ยวย่นก่อนวัย
2. UVB ทำลายชั้นผิวด้านบน ๆ ทำให้เกิดรอยหมองคล้ำ ผิวไหม้แดด กระ ผ่า รวมถึงมะเร็งผิวหนัง

SPF ค่านี้ หมายถึงว่า เมื่อทาครีมกันแดดแล้วทำให้ผิวทนต่อแสงแดด,ไม่เกิดอาการ
แสบแดงหรือไหม้ได้นาน เป็นกี่เท่าของผิวปกติที่ไม่ได้ทาครีมกันแดด ยกตัวอย่าง เช่น หากเราอยู่กลางแจ้ง หรือโดนแดดประมาณ 15 นาที ผิวจะเริ่มแดงเมื่อใช้ครีมกันแดด SPF 15 จะสามารถปกป้องผิวได้นาน 15 เท่า คิดเป็นเวลาได้นาน 15×15 =225 นาที หรือประมาณ 4 ชั่วโมง

ส่วนค่าซึ่งบอกประสิทธิภาพป้องกัน UVA คือ PA (Protection Factor For UVA) มีค่าแสดงจาก น้อย (+) ถึงมาก (+++) ดังนั้นครีมกันแดด ที่มีค่า pa สูง(+++) ก็จะช่วยป้องกันการเกิดริ้วรอยเหี่ยวย่นและรอยคล้ำบริเวณผิวจาก UVA ได้

สิ่งที่หมอเล่ามาตั้งยาวเพื่อจะบอกว่าครีมกันแดดที่ดี คือ ครีมกันแดดป้องกันได้ทั้ง UVA(ป้องกันการเหี่ยวย่น) และ UVB (ป้องกันมะเร็งผิวหนัง)

ส่วนการเลือกครีมกันแดดสำหรับน้องๆ ที่เป็นสิวง่าย ซึ่งถ้าส่วนใหญ่ผิวมันด้วย ควรเลือกสารกันแดดที่เป็นเนื้อเจลหรือโลชั่น เพื่อให้ซึมผ่านผิวง่ายและไม่รู้สึกเหนียวเหนอะมากนักค่า SPF 15 สามารถปกป้องผิวจากแดดได้เพียงพอสำหรับชีวิตประจำวันที่ไม่ต้องเผชิญกับแดดจ้ามากนักเนื่องจาก ยิ่งค่า SPF สูงกันแดดได้นาน แต่ก็หมายถึงว่ามีสารเคมีต่างๆผสมอยู่ในปริมาณสูงโอกาสแพ้ก็มากขึ้น และอาจเกิดปัญหาการอุดตันและเป็นสิวตามมาได้ แถมราคาก็สูงตามไปด้วย

ทีนี้น้องๆ ที่เป็นสิวง่ายคงเลือกใช้ครีมกันแดดได้มั่นใจขึ้นแล้วนะคะ
ถ้ายังมีข้อข้องใจอื่น ๆ เกี่ยวกับสารกันแดด
สามารถมาปรึกษาหมอที่ SVJ CENTER ได้ทุกเมื่อคะ

เรียบเรียงโดย พญ. สุรัติ อัศวานุชิต

:: Share This ::

การรักษาสิวสำหรับสตรีตั้งครรภ์

หมอเขียนบทความนี้ขึ้น เนื่องจากคนไข้จำนวนไม่น้อยที่มาปรึกษาปัญหาสิวพร้อม ๆ กับเตรียมตัวเป็นว่าที่คุณแม่มือใหม่ โดยคำถามที่หมอมักถูกถามบ่อย ๆ คือ

  • ยารักษาสิวทำให้ทารกในครรภ์พิการจริงหรือ ?
  • ยารักษาสิวมีผลข้างเคียงอะไรบ้าง ?
  • สามารถซื้อมาใช้เองนาน ๆ ได้หรือไม่ ?
  • ควรรักษาสิวอย่างไรถ้าอยู่ในระหว่างการตั้งครรภ์ ฯลฯ

ปัจจุบันคนไทย ให้ความสนใจในการดูแลตัวเองมากขึ้นกว่าสมัยก่อน และส่วนใหญ่คิดว่า สิวเป็นแค่เรื่องความสวยความงาม เมื่อมีปัญหาจึงมักซื้อยามาใช้เองหรือปรึกษาช่างเสริมสวยตามค่านิยมของคนไทย อะไรใช้แล้วดีบอกต่อ รวมทั้งความก้าวหน้าของสื่อยุคใหม่ทำให้มีโฆษณาชวนชื่อเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์รักษาสิว, ผิวหน้าออกมามากมาย แต่ผู้ที่ใส่ใจสุขภาพตัวเองไม่ควรเชื่อคำโฆษณาง่ายเกินไป อาจทำให้เสียเงินทองและเวลาโดยไม่จำเป็น รวมทั้งบางสื่อมีการนำเสนอข้อมูลเพียงด้านเดียว อาจยังขาดข้อมูลทางวิชาการที่ถูกต้อง

การรักษาสิวมีหลายวิธี ตามระดับความรุนแรงของปัญหาสิว สำหรับในบทความนี้หมอขอกล่าวถึง การรักษาสิววิธีต่าง ๆ เฉพาะในสตรีตั้งครรภ์นะคะ
เริ่มจากยาทา มีทั้งยาแต้มสิวอักเสบเฉพาะที่ ซึ่งเป็นยาฆ่าเชื้อสิว, ยาทาละลายหัวสิวอุดตัน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม

1) BP ชื่อเต็ม คือ Benzyl Peroxide ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มฆ่าเชื้อสิวด้วย เป็นยาที่แพทย์มักให้ทาสิวก่อนล้างหน้า 5-10 นาทีแล้วล้างออก ยาในกลุ่มนี้ปลอดภัยสำหรับสตรีตั้งครรภ์
2) ยากลุ่มกรดวิตามิน เอ เป็นยาที่ใช้ทาเฉพาะกลางคืน เพราะไวต่อแสงไม่ควรใช้ในสตรีตั้งครรภ์
เนื่องจากเหตุผลเดียวกับยารับประทานกลุ่มกรดวิตามินเอ ซึ่งหมอจะขออธิบายเหตุผลรวมกับกลุ่มยารับประทานต่อไป

สำหรับยารับประทานรักษาสิวมีหลายกลุ่ม
ยาที่ถูกถามบ่อยที่สุด คือ ยากลุ่มกรดวิตามินเอ (Isotretionin) ยากลุ่มนี้ราคาแพงและมีข้อแทรกซ้อนสูง คือทำให้ปากแห้ง, ตาแห้ง, ปวดศีรษะ, ปวดข้อ ไขมันในเลือดสูง ฯลฯ เป็นยากลุ่มที่ควบคุมพิเศษ ต้องสั่งจ่ายโดยแพทย์ผิวหนังเท่านั้นค่ะ เพราะมีข้อบ่งชี้ในการใช้ยาชัดเจน คือ ใช้เฉพาะในสิวที่รุนแรง คือ สิวหัวช้าง, สิวที่ดื้อต่อการใช้ยาปฏิชีวนะ และสิวที่ทำให้เกิดแผลเป็นอย่างรุนแรงบนใบหน้า

ยากลุ่มกรดวิตามินเอนี้ ไม่ควรใช้ในสตรีตั้งครรภ์เด็ดขาด เพราะสามารถทำให้ทารกในครรภ์พิการได้อย่างมากคือ ทำให้ศีรษะโตหรือเล็กผิดปกติ ในหน้าและตาผิดปกติปัญญาอ่อน หรือหัวใจผิดปกติได้
ผู้ป่วยที่ได้รับยากลุ่มนี้จึงต้องคุมกำเนิดอย่างน้อย 1 เดือน ก่อนได้รับยา ไม่ตั้งครรภ์ระหว่างรับยา และต้องหยุดยาจนครบ 1 เดือน จึงจะตั้งครรภ์โดยปลอดภัยต้องไม่นำยาไปแบ่งให้ผู้อื่นโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ และต้องไม่บริจาคเลือดระหว่างรับยา เพราะยาสามารถดูดซึมผ่านกระแสเลือดได้

ส่วนยารับประทานในกลุ่มยาปฏิชีวนะ (ยาฆ่าเชื้อสิว) ยาตัวที่ไม่ควรใช้ในสตรีตั้งครรภ์ที่มีสิว คือ เตตร้าซัยคลีน (Tetracyclire) เพราะยานี้มีผลเสียต่อตับของแม่ ทำให้ฟันน้ำนมของลูกมีสีเหลือง และมีความผิดปกติเกิดในลูกได้
นอกจากยาที่หมอเล่ามาทั้งหมดแล้ว ปัจจุบันยังมีการใช้สารเคมีมาทำยาปลอบเลียนแบบยาในกลุ่มต่าง ๆ ที่รักษาสิว จึงน่าเป็นห่วงอย่างยิ่งว่าทารกไทยในอนาคตจะเสี่ยงต่อความเป็นเด็กพิการสูงมาก

ถ้าอย่างนั้นในสตรีตั้งครรภ์เป็นสิวจะทำอย่างไรดี ?

คำตอบ คือ ไม่ยากค่ะ ควรปรึกษาแพทย์ถึงการใช้ยารักษาสิวบางกลุ่มที่สามารถเลือกใช้ใน
สตรีตั้งครรภ์ได้ และปัจจุบันเทคโนโลยีก้าวไกลไปมากจนวงการแพทย์ผิวหนังเราสามารถนำความรู้ในการใช้แสงเลเซอร์มารักษาสิวและปัญหาผิวพรรณได้อย่างปลอดภัยในสตรีตั้งครรภ์ได้ด้วย โดยแพทย์สามารถเลือกเครื่องเลเซอร์ที่ช่วยรักษาปัญหาสิวเฉพาะจุด (Local) โดยไม่เกิดผลข้างเคียงต่อบริเวณอื่นและทารกในครรภ์
หวังว่าบทความนี้คงช่วยให้ว่าที่คุณแม่มือใหม่ได้ความรู้เพิ่มและปรับใช้ระมัดระวังตัวในขณะตั้งครรภ์นะคะ ถ้ามีคำถามอื่น ๆ เพิ่มเติมหรือเกิดปัญหาสิวขึ้นระหว่างตั้งครรภ์สามารถมาปรึกษาทีมแพทย์ SVJ ถึงการใช้แสงรักษาสิวได้ หมอยินดีให้คำแนะนำทุกเมื่อค่ะ
เรียบเรียงโดย พญ. สุรัติ อัศวานุชิต

:: Share This ::

ความเชื่อเรื่องเลเซอร์

ทำเลเซอร์SmoothBeam Vbeam จะทำให้เป็นมะเร็งผิวหนังหรือไม่
ไม่แน่นอนเพราะ แสงVbeam Smoothbeam อยู่ในช่วงคลื่นที่ยาว 595nm และ 1450nm ไม่ทำให้เกิดมะเร็ง ช่วงคลื่นที่ทำให้เกิดมะเร็งผิวหนังอยู่ในช่วงคลื่นที่ต่ำกว่า 400nm

ทำเลเซอร์SmoothBeam Vbeam หลังทำจะเป็นสะเก็ดแผลหรือไม่
ไม่ เพราะ SmoothBeam Vbeam เป็นเลเซอร์ในกลุ่ม Non-Ablative laser มีระบบความเย็นป้องกันผิวหนังชั้นบนจึงไม่เกิดสะเก็ดแผลหลังทำเลเซอร์

มีเลเซอร์ชนิดไหนบ้างที่ทำให้เกิดแผล
เลเซอร์ในกลุ่ม Ablative laser เช่นเลเซอร์ลบรอยสัก กำจัดไฝ เช่น QSwitch ND:YAG, Qswitch Ruby

การทำเลเซอร์เจ็บรึเปล่า??
ไม่เจ็บ

การรักษาสิวด้วยเลเซอร์ต้องใช้เวลาการทำบ่อยแค่ไหน เห็นผลเมื่อไร
ใช้เวลาการรักษา 5-10 นาที หลังการรักษาสามารถกลับไปเรียนหรือทำงานได้ตามปกติ
การรักษาครั้งต่อไปห่างกัน 2 สัปดาห์ การรักษาสิวเริ่มได้ผลในสัปดาห์ที่4

ก่อนทำเลเซอร์ SmoothBeam, Vbeam ต้องเตรียมตัวเป็นพิเศษอย่างไรบ้าง
ไม่จำเป็นสามารถทำเลเซอร์ได้เลย แต่มีข้อระวังในคนมีประวัติผื่นแพ้แสง

หากเลเซอร์ได้ผลดีทำไมถึงไม่มีศูนย์รักษาสิวด้วยเลเซอร์
เป็นเพราะเทคโนโลยีราคาแพง แพทย์ผู้ชำนาญมีไม่มาก การรักษาเน้นไปในเชิงการค้ามากเกินไปทำให้เกิดความเข้าใจผิดๆเกี่ยวกับเลเซอร์

ด้วยความปรารถนาดีจาก
ทีมแพทย์ SVJ ACNE CENTER
ติดตามข่าวสารคลินิกได้ที่ www.SVJclinic.com

บทความโดย
นพ.วิสิฏฐ ศรีสนิท
แพทย์ศาสตร์ รามาธิบดี
Dlploma in Dermatology (Institue of Dermatology BKK)

:: Share This ::