fbpx

ผิววัยรุ่น

วัยรุ่นเป็นช่วงอายุที่มีการเปลี่ยนแปลงในทุกๆด้าน ทั้งร่างกายและจิตใจ ช่วงวัยรุ่นผู้ชายเริ่มมีกล้ามเนื้อที่แข็งแรง รูปร่างที่บึกบึน เสียงแตก มีความกล้าแสดงออกอยากเป็นผู้นำ ส่วนผู้หญิงเริ่มมีสรีระส่วนเว้าโค้ง สนใจในเรื่องความสวยความงามมากขึ้น แล้วความเปลี่ยนแปลงทางด้านผิวล่ะ

การเปลี่ยนแปลงทางผิวหนังที่สังเกตุได้ชัดคือ หน้ามันเพราะต่อมไขมันผลิตน้ำมันมาก เริ่มมีหนวดเครา ขนรักแร้ และปัญหาสำคัญที่สุดคือ สิว ใครบอกว่าสิวไม่สำคัญ เป็นเรื่องธรรมชาติ ไม่ต้องดูแลรักษา อันนี้เป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องเพราะ เมื่อเกิดสิวจะทำให้เด็กขาดความมั่นใจ ไม่กล้าแสดงออก บางรายถึงกับเป็นโรคซึมเศร้า ขาดเรียน และต้องเป็นที่ยอมรับกันว่าปัจจุบันรูปร่างหน้าตาที่ดีเป็นส่วนสนับสนุน หน้าที่การงานในอนาคตด้วย

เมื่อรับรู้ถึงปัญหาสิวแล้ว ทำอย่างไรล่ะถึงจะทำให้สิวไม่มาย่างกลายผิวของวัยรุ่น หมอมีคำแนะนำดังนี้

1. ล้างหน้าวันละ 2 ครั้ง โดยสบู่อ่อนๆ ล้างหน้าตามแนวของเส้นขน  เพื่อหลีกเลี่ยงการอุดตันของรูขุมขน

           

2. ทานอาหารในกลุ่มพืชผัก ปลาทะเล อาหารทะเลเพราะมีสารต้านอนุมูลอิสระ

3. นอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอ

4. หลีกเลี่ยงอาหารจำพวก นม เนย ถั่ว เค้ก ช็อกโกแลต ข้าวซ้อมมือ วิตามินรวม แอลกอฮอลล์

         

5. หลีกเลี่ยงการใช้เครื่องสำอางค์ โดยเฉพาะครีมกันแดด แป้งผสมรองพื้น

6. หลีกเลี่ยงการทายาสเตียรอยด์ มักอยู่ในรูปของครีมแก้แพ้ แก้ผดผื่น

7. หลีกเลี่ยงการแกะสิว กดสิว ฉีดสิวเพราะจะทำให้เกิดรอยหลุมสิว

ถ้าปฏิบัติตัวแล้วสิวยังเกิดขึ้นอีกไม่ต้องกังวล อย่าดันทุรังไปซื้อครีมแก้สิวมาทาเอง เพราะจะทำให้ปัญหายิ่งบานปลาย ปรึกษาแพทย์ผิวหนังดีกว่าครับ แล้วจะเลือกรับการรักษาสิวอย่างไรดีล่ะ

ติดตามได้ในบทความฉบับหน้า

:: Share This ::

การรักษาหลุมสิว Acne Scar types Demand options

ในบทความฉบับนี้จะกล่าวถึงการรักษารอยหลุมสิวในแนวทาง Semi Ablative กล่าวคือการรักษาที่หลังการทำแล้วผิวหนังชั้นบนจะมีการหลุดลอกและต้องพักหน้า ซึ่งวิธีการเหล่านี้ต้องระมัดระวังในการทำเนื่องจากอาจทำให้หน้าบาง ผิวไม่แข็งแรง รวมทั้งอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการรักษาได้

การรักษาหลุมสิวด้วยการทำให้ใบหน้าเกิดรูเล็กๆ ( micro traumatic )

การรักษาในกลุ่มนี้ได้แก่ Dermaroller Fraxel หลักการคือการใช้เครื่องมือแพทย์ทำให้ผิวหนังเป็นรูเล็กๆหลังจากนั้นผิวหนังจะมีการซ่อมแซมรูต่างๆเหล่านี้มีการสร้างเส้นใยคอลลาเจนใหม่ขึ้นมา ทำให้รอยหลุมนั้นตื้นขึ้นได้ โดยข้อแตกต่างระหว่าง Dermaroller และFraxel คือ Dermaroller ใช้พลังงานกลจากแรงกดของเข็มเล็กๆจากเครื่องมือ ส่วน Fraxel นั้นเป็นการใช้พลังงานแสงเลเซอร์ซึ่งจะทำให้เกิดความร้อนใต้ผิวหนังให้เกิดเป็นรูขนาดเล็ก ซึ่งในปัจจุบันเป็นวิธีการรักษาหลุมสิวที่ได้ผลดีมาก ข้อเสียคือต้องพักหน้า 3-7 วัน

การรักษาโดยการลอกผิวหนังชั้นบน ( Peeling or Dermabrasion )

การรักษาได้แก่ การทำ Chemical Peeling และ การทำ Microdermabrasion วิธีการจะเป็นการลอกผิวหนังชั้นบนด้วยสารเคมี หรือ การใช้พลังงานกลจากเครื่องมือ โดยผลที่ได้คือผิวหนังชั้นบนจะมีการลอกออกและมีการสร้างผิวหนังใหม่เกิดขึ้น ใช้ได้ผลดีกับรอยหลุมตื้นๆ ส่วนข้อเสียคือจะทำให้หน้าบาง

พบกับบทความฉบับหน้าในเรื่องของการทำศัลยกรรมรักษารอยหลุมสิว ( Subcision, Laser Resurfacing, Punch excision )

บทความโดย
นพ.วิสิฏฐ ศรีสนิท
แพทย์ศาสตร์ รามาธิบดี
Dlploma in Dermatology (Institue of Dermatology BKK)

:: Share This ::

รอยแผลเป็นจากสิว รักษาวิธีใดดี

รอยแผลเป็นอันเกิดจากสิวนั้นเป็นสิ่งที่ไม่พึงปรารถนาของคนทุกๆคน คงไม่มีใครอยากมีใบหน้าขรุขระเหมือนผิวพระจันทร์

รอยหลุมสิวนั้นมีหลายลักษณะ ยกตัวอย่างเช่น รอยแผลเป็นนูนหรือคีรอยด์ รอยหลุมสิวซึ่งสามารถแบ่งรูปแบบได้คือ ขอบชัด ขอบไม่ชัด หลุมลึก หลุมตื้น หลุมกว้าง หลุมแคบ และมีรอยแดงหรือรอยดำร่วมด้วยหรือไม่ บางคนอาจมีหลายปัญหาร่วมกันอยู่เพราะฉะนั้นจึงไม่มีการรักษาวิธีใดดี่ที่สุดสำหรับรอยแผลเป็นจากสิว ต้องใช้การรักษาหลายวิธีร่วมกันจึงมีประสิทธิภาพมากที่สุด

การรักษารอยแผลเป็นในปัจจุบันแบ่งเป็น การรักษาที่ไม่ทำให้เกิดแผล( Non Ablative) การรักษาที่ทำให้เกิดแผลเล็กน้อย ( Semi Ablative) การรักษาที่ทำให้เกิดแผล ( Ablative ) และการทำศัลยกรรม

ในบทความสัปดาห์นี้จะกล่าวถึงการรักษาโดยไม่ทำให้เกิดแผล

Non Ablative technique

1. การใช้แสงเลเซอร์เป็นวิธีที่นิยมที่สุดและมีงานวิจัยมารับรองมากมาย

Vascular Laser 595nm pulsed dye laser ( Vbeam, Candela ) เป็นเลเซอร์ที่ช่วยในการรักษารอยแดง รอยแผลเป็นนูน และช่วยในรอยหลุมได้บางส่วน Dr. Gerald Goldberg University of Arizona กล่าวว่าเลเซอร์ชนิดนี้เหมาะที่สุดสำหรับรอยสิวที่มีสีแดงและบุ๋มเล็กน้อย

Infrared 1450nm diode laser ( Smoothbeam ) เป็นเลเซอร์ที่ช่วยในการรักษาสิวที่กำลังอักเสบและรอยหลุมสิว

Infrared 1320 YAG laser ( Cooltouch3, Sciton, Profile ) เป็นเลเซอร์ที่รักษารอยหลุมสิวแต่ไม่ช่วยในการรักษาสิวอักเสบ

RadioFrequency หรือ RF ( Thermage, Thermacool ) มีรายงานในการนำมาประยุกต์ใช้กับรอยหลุมสิว

แม้ว่าการรักษาหลุมสิวด้วยเลเซอร์ต่างๆในกลุ่มนี้จะไม่ทำให้เกิดแผลหลังทำและได้ผลดีแต่ปัญหาหลุมสิวนั้นยากที่จะฟื้นฟู ดังนั้นการทำเลเซอร์จึงต้องทำอย่างน้อย 4-6 ครั้ง

2. การทำทรีตเมนต์ต่างๆ

จุดมุ่งหมายในการทำทรีตเมนต์คือการใช้ครีมเป็นหลักในการรักษา แต่ปัญหารอยแผลเป็นจากสิวนั้นมีปัญหาในผิวหนังชั้นที่ลึกมากดังนั้นการใช้ครีมจึงไม่สามารถช่วยในปัญหานี้ได้มากแต่จะช่วยในด้านความชุ่มชื่นความสบายของผิวมากกว่า การรักษาทรีตเมนต์ได้แก่ การทำไอออนโต โฟโน นวดหน้า

ในบทความฉบับหน้าจะพูดถึง การรักษาโดย Semi Ablative ( Dermaroller ,Fraxel ,Microdermabrasion ,Chemical Peeling)

บทความโดย
นพ.วิสิฏฐ ศรีสนิท
แพทย์ศาสตร์ รามาธิบดี
Dlploma in Dermatology (Institue of Dermatology BKK)

:: Share This ::

ผลข้างเคียงของสเตียรอยด์ในการรักษาสิว

ในปัจจุบันมีการใช้ยาสเตียรอยด์เพิ่มขึ้นอย่างมากเนื่องจากสเตียรอยด์มีคุณสมบัติในการลดการอักเสบ โรคผิวหนังมากกว่า 50% ต้องใช้ยาสเตียรอยด์ร่วมในการรักษาและในปัจจุบันในการรักษาสิวซึ่งเป็นโรคผิวหนังที่พบบ่อยที่สุด ได้มีการนำสารสเตียรอยด์มาใช้อย่างพร่ำเพรื่อมากขึ้นเป็นอย่างมาก ทั้งพบอยู่ในรูปของยาฉีดสิว ยาทาแก้สิวผด ครีมขี้ผึ้ง ยาโลชั่น ซึ่งการใช้สเตียรอยด์ติดต่อกันนี้เองทำให้มีปัญหาผลข้างเคียงของยาตามมา ซึ่งในบทความนี้จะแจกแจงถึงผลข้างเคียงของการใช้ยาสเตียรอยด์

ผลข้างเคียงของสเตียรอยด์

1. เกิดอาการผิวหน้าบาง หลังการใช้ยาสเตียรอยด์ 2-4 สัปดาห์ฤทธิ์ยาจะทำให้ผิวหนังเกิดการบางตัวยาจะทำให้กระบวนการสร้างคอลลาเจนเสียไป ผลที่สังเกตได้คือ เกิดรอยแตก รอยแยกบนผิวหนัง

2. เส้นเลือดใต้ผิวหนังผิดปกติทำให้มีอาการหน้าแดงอยู่ตลอดเวลา

3. ผิวหนังจะมีสีจางลงหากใช้เป็นเวลานานทำให้เกิดเกิดด่างขาว

4. เกิดรอยบุ๋มของผิวหนัง (ส่วนมากเกิดจากการฉีดสิว )

5. เกิดสิวผด

6. หากใช้ยาเป็นเวลานานจะเกิดการติดยาสเตียรอยด์ ( Steroid Addict ) เมื่อหยุดยาหน้าจะแดงมีสิวผดเกิดขึ้น ปัญหานี้พบบ่อยมากในปัจจุบันเนื่องจากมีการใช้สเตียรอยด์เกินความจำเป็น

ทาง SVJ Clinic ได้ติดตามปัญหาหน้าติดสเตียรอยด์มาอย่างใกล้ชิด หากกังวลว่ามีปัญหาติดสเตียรอยด์หรือไม่ลองนึกว่าคุณมีครีมตัวหนึ่งเมื่อหยุดใช้แล้วทำให้มีสิวผดเกิดขึ้นทำให้ไม่สามารถเลิกครีมได้ ให้สงสัยได้ว่าครีมนี้อาจมีส่วนผสมของสเตียรอยด์
เรามีแนวทางที่หลีกเลี่ยงการใช้ยาสเตียรอยด์ คนไข้ของเราทุกคนมั่นใจได้ว่าคุณจะไม่ติดสเตียรอยด์ที่SVJ Clinic อย่างแน่นนอน

ทีมงานวิชาการ SVJ

บทความโดย

นพ.วิสิฏฐ ศรีสนิท
แพทย์ศาสตร์ รามาธิบดี
Dlploma in Dermatology (Institue of Dermatology BKK)

:: Share This ::

PDT กับแนวทางการรักษาสิว

Photodynamic therapy (PDT) เป็นวิธีการรักษาที่ใช้ 3 สิ่งสำคัญ คือ สารไวต่อแสง (Photosensitizing
drug) ,แสง (light source) ,ออกซิเจน (Oxygen) ซึ่งสารไวแสงจะสามารถซึมผ่านเฉพาะเซลล์ที่ผิดปกติ และ
สลายจากเนื้อเยื่อปกติได้เร็ว เพราะค่าครึ่งชีวิตสั้น เช่น 5- Aminolevulinic acid (ALA) ส่วนแหล่งกำเนิดแสงแบ่ง
ได้เป็น laser และ Nonlaser หลักการของการรักษาคือการเกิดปฎิกิริยาเคมีระหว่างสารไวแสง(ALA)ถูกกระตุ้นโดยแสง แล้วเกิดการสร้าง single oxygen และ Free radicals ซึ่งเป็นตัวทำลายเซลล์ ซึ่งข้อบ่งชี้ของการรักษาแบ่งออกเป็นกลุ่มใหญ่ได้เป็น 1) Benign conditions 2) Premalignant conditions 3) Malignant conditions ขณะนี้โรคที่ยอมรับจาก FDA ที่อเมริกา ว่าวิธี Photodynamic therapy ใช้ ALAในการรักษาแล้วได้ผลดี คือ Actinic keratoses ในกรณีของ nonhypertrophic actinic keratosis ที่ต้องหาวิธีมารักษา เพราะโรคนี้สามารถเปลี่ยนไปเป็นมะเร็งผิวหนังได้ และที่สำคัญวิธีนี้สามารถรักษาได้พร้อมกันหลายจุด ข้อดีไม่ต้องผ่าตัด ไม่มีแผล ต่อมาอีกโรคที่น่าสนใจคือ สิว สามารถใช้วิธีนี้รักษาได้เช่นกัน ในกรณีของสิวในรูปแบบ สิวอักเสบและสิวซีสต์เมื่อทา ALA บนหน้าทิ้งไว้แล้ว ตามด้วยการยิงเลเซอร์ Vbeam (595nm) ผลที่ได้สามารถลดจำนวนสิวที่เกิดขึ้น รวมถึงลดความมันบนใบหน้าและกระชับรูขุมขน อย่างไรก็ตามสำหรับเมืองไทยเรายังไม่มีการรับรองหรือนำสาร
ALA มาใช้ ทางนีตนาทคลินิก และ ศูนย์เลเซอร์เอสวีเจ กำลังติดตามงานวิจัย ALA หากมีข้อมูลใหม่ๆติดตามได้ทาง website www.SVJclinic.com หรือ www.netanart.com

Keywords : Photodynamic therapy , 5- Aminolevulinic acid , Pulse dye laser , Actinic keratoses , Acne

บทความโดย
แพทย์หญิง นพมณี มาลากร
Diploma in Dermatology ( Institute of Dermatology, Bangkok )
Certificate in Cutaneous and Laser Surgery ( Institute of Dermatology, Bangkok )
Certificate in Laser surgery ( Siriraj Medical school )
พบ.มหาวิทยาลัยรังสิต

:: Share This ::

ผื่นแพ้จากการใช้เครื่องสำอาง

ในปัจจุบันการดูแลรักษาผิวพรรณเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้แล้วสำหรับคนยุคใหม่ ในแต่ละคนมักจะมีผลิตภัณฑ์เสริมความงามที่ใช้อยู่อย่างน้อย 3-4ชนิดต่างลักษณะและการใช้งานเช่น ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด ครีมกันแดด ครีมหน้าขาว ครีมกระชับรูขุมขน ครีมบำรุงผิว ทั้งอยู่ในรูปครีม โลชั่น เซรั่มต่างๆ เป็นต้น การเพิ่มขึ้นของผลิตภัณฑ์ความงามเหล่านี้ยังผลให้อุบัติการณ์ของผื่นแพ้เพิ่มสูงขึ้นเป็นเงาตามตัว
ลักษณะของผื่นแพ้จากเครื่องสำอางอาจแบ่งได้คร่าวๆดังนี้

1. อาการระคายเคือง ( Irritant ) พบได้บ่อยที่สุด อาการแพ้รูปแบบนี้เกิดได้กับทุกคนที่สัมผัสสารเคมีในครีม จะมีอาการแสบร้อน ระคายเคืองยุบยิบบนผิวหนังหลังใช้เครื่องสำอางทันทีส่วนอาการคันจะมีตามหลัง ลักษณะของสารที่กระตุ้นทำให้เกิดการระคายเคืองมักอยู่ในรูปของกรดผลไม้ สาร surfactant

2. อาการแพ้ ( Allergy ) เกิดขึ้นเฉพาะบุคคลยกตัวอย่างเช่น นส. A ใช้ครีมA แล้วแพ้ แต่นส.B ใช้ครีมA แล้วไม่แพ้ สรุปคือ นส.A มีอาการแพ้ต่อครีม A อาการแพ้รูปแบบนี้จะมีอาการคันนำมาก่อนและจะมีผื่นแดง สิว ตุ่มใสร่วมด้วยได้ เกิดหลังจากใช้เครื่องสำอางเป็นระยะเวลาหนึ่งตั้งแต่1วันจนถึงเป็นปีก็ได้ อาการแพ้ allergy พบบ่อยขึ้นในปัจจุบันเนื่องจากมีการใช้สารเคมีมากขึ้น สารที่ก่อให้เกิดการแพ้ allergy ที่พบบ่อยได้แก่ น้ำหอมที่ผสมในครีม สารกันเสียในครีม

ในกรณีที่สงสัยว่าเกิดอาการแพ้ควรรีบหยุดใช้เครื่องสำอางทันทีหากอาการยังไม่ดีขึ้นควรพบแพทย์เพื่อการวินิจฉัยและรับการรักษาที่ถูกต้อง ในปัจจุบันมีการทดสอบสารภูมิแพ้ทางผิวหนัง (Patch test) ทำให้ผู้ป่วยที่มีอาการแพ้ง่ายสามารถรู้ถึงสารที่ตนเองแพ้และหลีกเลี่ยงสารภูมิแพ้ชนิดนั้น

:: Share This ::