fbpx

การรักษาหลุมสิว Acne Scar types Demand options

ในบทความฉบับนี้จะกล่าวถึงการรักษารอยหลุมสิวในแนวทาง Semi Ablative กล่าวคือการรักษาที่หลังการทำแล้วผิวหนังชั้นบนจะมีการหลุดลอกและต้องพักหน้า ซึ่งวิธีการเหล่านี้ต้องระมัดระวังในการทำเนื่องจากอาจทำให้หน้าบาง ผิวไม่แข็งแรง รวมทั้งอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการรักษาได้

การรักษาหลุมสิวด้วยการทำให้ใบหน้าเกิดรูเล็กๆ ( micro traumatic )

การรักษาในกลุ่มนี้ได้แก่ Dermaroller Fraxel หลักการคือการใช้เครื่องมือแพทย์ทำให้ผิวหนังเป็นรูเล็กๆหลังจากนั้นผิวหนังจะมีการซ่อมแซมรูต่างๆเหล่านี้มีการสร้างเส้นใยคอลลาเจนใหม่ขึ้นมา ทำให้รอยหลุมนั้นตื้นขึ้นได้ โดยข้อแตกต่างระหว่าง Dermaroller และFraxel คือ Dermaroller ใช้พลังงานกลจากแรงกดของเข็มเล็กๆจากเครื่องมือ ส่วน Fraxel นั้นเป็นการใช้พลังงานแสงเลเซอร์ซึ่งจะทำให้เกิดความร้อนใต้ผิวหนังให้เกิดเป็นรูขนาดเล็ก ซึ่งในปัจจุบันเป็นวิธีการรักษาหลุมสิวที่ได้ผลดีมาก ข้อเสียคือต้องพักหน้า 3-7 วัน

การรักษาโดยการลอกผิวหนังชั้นบน ( Peeling or Dermabrasion )

การรักษาได้แก่ การทำ Chemical Peeling และ การทำ Microdermabrasion วิธีการจะเป็นการลอกผิวหนังชั้นบนด้วยสารเคมี หรือ การใช้พลังงานกลจากเครื่องมือ โดยผลที่ได้คือผิวหนังชั้นบนจะมีการลอกออกและมีการสร้างผิวหนังใหม่เกิดขึ้น ใช้ได้ผลดีกับรอยหลุมตื้นๆ ส่วนข้อเสียคือจะทำให้หน้าบาง

พบกับบทความฉบับหน้าในเรื่องของการทำศัลยกรรมรักษารอยหลุมสิว ( Subcision, Laser Resurfacing, Punch excision )

บทความโดย
นพ.วิสิฏฐ ศรีสนิท
แพทย์ศาสตร์ รามาธิบดี
Dlploma in Dermatology (Institue of Dermatology BKK)

:: Share This ::

รอยแผลเป็นจากสิว รักษาวิธีใดดี

รอยแผลเป็นอันเกิดจากสิวนั้นเป็นสิ่งที่ไม่พึงปรารถนาของคนทุกๆคน คงไม่มีใครอยากมีใบหน้าขรุขระเหมือนผิวพระจันทร์

รอยหลุมสิวนั้นมีหลายลักษณะ ยกตัวอย่างเช่น รอยแผลเป็นนูนหรือคีรอยด์ รอยหลุมสิวซึ่งสามารถแบ่งรูปแบบได้คือ ขอบชัด ขอบไม่ชัด หลุมลึก หลุมตื้น หลุมกว้าง หลุมแคบ และมีรอยแดงหรือรอยดำร่วมด้วยหรือไม่ บางคนอาจมีหลายปัญหาร่วมกันอยู่เพราะฉะนั้นจึงไม่มีการรักษาวิธีใดดี่ที่สุดสำหรับรอยแผลเป็นจากสิว ต้องใช้การรักษาหลายวิธีร่วมกันจึงมีประสิทธิภาพมากที่สุด

การรักษารอยแผลเป็นในปัจจุบันแบ่งเป็น การรักษาที่ไม่ทำให้เกิดแผล( Non Ablative) การรักษาที่ทำให้เกิดแผลเล็กน้อย ( Semi Ablative) การรักษาที่ทำให้เกิดแผล ( Ablative ) และการทำศัลยกรรม

ในบทความสัปดาห์นี้จะกล่าวถึงการรักษาโดยไม่ทำให้เกิดแผล

Non Ablative technique

1. การใช้แสงเลเซอร์เป็นวิธีที่นิยมที่สุดและมีงานวิจัยมารับรองมากมาย

Vascular Laser 595nm pulsed dye laser ( Vbeam, Candela ) เป็นเลเซอร์ที่ช่วยในการรักษารอยแดง รอยแผลเป็นนูน และช่วยในรอยหลุมได้บางส่วน Dr. Gerald Goldberg University of Arizona กล่าวว่าเลเซอร์ชนิดนี้เหมาะที่สุดสำหรับรอยสิวที่มีสีแดงและบุ๋มเล็กน้อย

Infrared 1450nm diode laser ( Smoothbeam ) เป็นเลเซอร์ที่ช่วยในการรักษาสิวที่กำลังอักเสบและรอยหลุมสิว

Infrared 1320 YAG laser ( Cooltouch3, Sciton, Profile ) เป็นเลเซอร์ที่รักษารอยหลุมสิวแต่ไม่ช่วยในการรักษาสิวอักเสบ

RadioFrequency หรือ RF ( Thermage, Thermacool ) มีรายงานในการนำมาประยุกต์ใช้กับรอยหลุมสิว

แม้ว่าการรักษาหลุมสิวด้วยเลเซอร์ต่างๆในกลุ่มนี้จะไม่ทำให้เกิดแผลหลังทำและได้ผลดีแต่ปัญหาหลุมสิวนั้นยากที่จะฟื้นฟู ดังนั้นการทำเลเซอร์จึงต้องทำอย่างน้อย 4-6 ครั้ง

2. การทำทรีตเมนต์ต่างๆ

จุดมุ่งหมายในการทำทรีตเมนต์คือการใช้ครีมเป็นหลักในการรักษา แต่ปัญหารอยแผลเป็นจากสิวนั้นมีปัญหาในผิวหนังชั้นที่ลึกมากดังนั้นการใช้ครีมจึงไม่สามารถช่วยในปัญหานี้ได้มากแต่จะช่วยในด้านความชุ่มชื่นความสบายของผิวมากกว่า การรักษาทรีตเมนต์ได้แก่ การทำไอออนโต โฟโน นวดหน้า

ในบทความฉบับหน้าจะพูดถึง การรักษาโดย Semi Ablative ( Dermaroller ,Fraxel ,Microdermabrasion ,Chemical Peeling)

บทความโดย
นพ.วิสิฏฐ ศรีสนิท
แพทย์ศาสตร์ รามาธิบดี
Dlploma in Dermatology (Institue of Dermatology BKK)

:: Share This ::