fbpx

E-Matrix

ตอนนี้คนไข้มาถามหมอมากมายเลยครับเรื่องเครื่องเลเซอร์สุด popular ที่ชื่อว่า E Matrix ส่วนใหญ่จะมาถามว่า
“หมอจะซื้อเครื่องเข้ามาที่ SVJ รึเปล่า อยากมาทำที่ SVJ เพราะเห็นคลินิกอื่นๆก็มืกัน ” “E Matrix กับ Fraxel เครื่องไหนจะดีกว่ากันคะในเรื่องการรักษาหลุมสิว ” .” ทำไมหมอไม่มี Ematrix .”

จากข้อมูลวิชาการที่เป็นที่ยอมรับกันว่า Fraxel Laser เป็นเครื่องมือที่เป็น Gold Standard ในการรักษาหลุมสิว ณ ปัจจุบันมีเครื่องมืออีกเครื่องหนึ่งที่ชื่อว่า eMatrix ซึ่งกำลังมาแรงเป็นกระแสในขณะนี้ เราลองมาทำความรู้จักกับเครื่องมือชนิดนี้กันครับ

E Matrix เป็นเครื่องมือที่ใช้พลังงานจากคลื่นวิทยุ ( bipolar RF) ซึ่งพลังงานจาก eMatrix จะไปทำให้ผิวหนังเกิดเป็นรูเล็กๆจำนวน 64 หรือ 144 รูใน1ตารางเซนติเมตร โดยภายหลังจากการทิ่ผิวหนังถูกเจาะรูจะทำให้เกิดการสร้างผิวใหม่ ซึ่งคอนเซปในการรักษาโดยการเจาะรูที่ผิวหนังด้วยคลื่นวิทยุ bipolar RF หรือที่ทางเอกสารเครื่องมือเรียกว่า Sublative Rejuvenation ก็ไม่ได้ต่างอะไรแบบพลิกหน้ามือเป็นหลังมือกับระบบ Fractional Photothermolysis
ของ Fraxel ซึ่งคิดค้นโดย Professor Rox Anderson

หลักการของ Sublative Rejuvenation

 คือการเจาะรูผิวหนังโดยคลื่น bipolar RF ตาม concept บอกว่ารูที่เจาะชั้นผิวหนังด้านบนจะมีรูที่เล็กกว่ารูที่อยู่ด้านล่างทำให้ผลการรักษาดีและไม่ต้องพักผิวนาน

(จากภาพ diagram) ข้างบน ถึงตรงนี้ตัวหมอเองก็รู้สึกดีกับแนวคิดนี้มากๆครับ เพราะมันเป็น ideal thinking ในการทำ fractional เลย คือ รูด้านบนเล็ก ด้านล่างใหญ่ ความหมายคืออะไรสำหรับรูด้านบนกับรูด้านล่าง

รูด้านบนที่เล็ก แปลความหมายได้ง่ายๆคือ รูยิ่งเล็ก ระยะพักผิวน้อย รูยื่งใหญ่ยิ่งเป็นตาข่ายและพักผิวนาน สรุปคือรูด้านบนยิ่งเล็กยิ่งดีครับ

รูด้านล่าง แปลความหมายคือ ยิ่งเจาะรูได้ลึกเท่าไหร่ยิ่งเห็นผลดีเท่านั้น

ดังนั้นตามทฤษฎีแล้วเทคนิค Sublative Rejuvenation เป็นเทคนิคที่ดีมากๆครับ

แต่ในทางปฏิบัติเป็นอย่างไร??

จากภาพ Dermoscope ภาพซ้ายเป็น dot ที่เกิดจาก fine scan laser กลาง eMatrix ขวา Fraxel Restore จะเห็นได้ว่าขนาดของรู FineScan > eMatrix > Fraxel Restore ดังนั้นในเรื่องของ downtime ( เวลาในการพักหน้า ) และ รอยตาข่ายที่เห็นด้วยตาเปล่าก็จะเป็นลำดับดังนี้ FineScan > eMatrix > Fraxel Restore

ส่วนในเรื่องของผลการรักษา eMatrix และ Fraxel สามารถเจาะรูลงได้ลึกเกินกว่า 1000 ไมครอนซึ่งเพียงพอแล้วในการรักษาหลุมสิว และ ริ้วรอยตื้นๆ ดังนั้นยังไม่มีประเด็นบ่งชี้ที่จะทำให้เราเปลี่ยนเครื่องมือในการทำ Fractionalเพื่อการรักษาหลุมสิวและริ้วรอย จาก Fraxel มาเป็น eMatrix ครับเนื่องจากdowntime จาก eMatrix ที่นานกว่า Fraxel มากๆและผลการรักษายังไม่เป็นที่แน่ชัดว่าจะดีกว่า Fraxel ได้อย่างไร ถ้าในอนาคตมีข้อมูลใดๆที่เปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับ eMatrix หรือทีมวิจัยของเราพบว่า eMatrix สามารถนำไปใช้รักษาในโรคอื่นๆได้ดี เราก็พร้อมจะนำเครื่อง eMatrix มาบริการให้คนไข้ของSVJ ทุกคนครับ

บทความฉบับนี้ผู้อ่านทุกท่านคงได้รับข้อเท็จจริงที่เป็นข้อมูลทางวิชาการจากการเก็บรวบรวมข้อมูลจากคนไข้จริงของหมอ หวังว่าผู้อ่านคงได้รับประโยชน์ไม่มากก็น้อยครับ J

นพ วิสิฏฐ ศรีสนิท
Director SVJ Laser Clinic

:: Share This ::

คุยเรื่อง “ขนคุด กับ เลเซอร์” กับหมอวิสิฏฐ

มีปัญหาหนึ่งที่เป็นปัญหาโรคผิวหนังที่คนเป็นกันจำนวนมากแล้วก็รักษาให้ดีขึ้นได้ยากเช่นกัน โรคนั้นคือ
โรคขนคุด (KP) ครับ

โรคขนคุด หรือ KP ( Keratosis Pilaris ) เป็นโรคที่พบได้บ่อยมากไม่น้อยไปกว่าสิวเลยครับ คือ ประมาณ 50-60%
ของประชากรทั่วไป โดยอาการจะเริ่มเป็นมากในช่วงวัยรุ่นและดีขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น สาเหตุของขนคุดนั้นยังไม่เป็น
ที่ทราบอย่างแน่ชัด แต่จากประสบการณ์ของหมอพบว่าสาเหตุน่าจะมาจาก

  1. การที่แนวโพรงขนบริเวณแขน ขา หลัง ที่ขนขึ้นไม่เป็นระเบียบทำให้เกิดการติดขัดในการขึ้นของเส้นขน
    ยกตัวอย่างบริเวณที่พบขนคุดได้บ่อยที่สุดคือ บริเวณต้นแขนด้านนอกจะสังเกตว่าแนวขนบริเวณนี้จะมีแนวขึ้น
    สะเปะสะปะ  คล้ายขวัญ แนวขวัญที่ไม่เป็นระเบียบนี้เองทำให้เส้นขนไม่สามารถงอกทะลุผิวหนังขึ้นมาได้
    เกิดขนคุด KP
  2. การที่ผิวหนังมีความชุ่มชื้นน้อย ผิวแห้ง( Dry skin or Ichthyosis ) เมื่อผิวแห้งมากๆทำให้เกิดการสร้างชั้นผิวหนังที่ไม่สมบูรณ์ จึงทำให้เส้นขนไม่สามารถทิ่มทะลุผ่านได้เกิดขนคุดKP
  3. การมีแนวเส้นเลือดที่ผิด ( abnormal blood vessel ) ทำให้เกิดอาการแดง รอยแดงหายยากจากการเป็นขนคุด เกิดเป็นรอยตุ่มแดงที่รูขุมขน
  4. เกิดจากพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม การเกาผิวหนังบ่อยๆทำให้เกิดการกระตุ้นอาการแพ้และอาการอักเสบของผิวหนัง เกิดเป็นรอยดำคล้ายฝ้า

แล้วปัญหาของขนคุดคืออะไร ส่วนใหญ่แล้วปัญหาคือ ความรำคาญ ครับ คนไข้ที่มาหาหมอส่วนใหญ่จะเบื่อมากที่มีตุ่มๆ บริเวณต้นแขน หลัง ขา ทำอย่างไรก็ไม่หายซักที พอเป็นนานๆเข้าก็พยายามแกะ เกาให้ขนหลุดออกมา เกาไปนานๆทำให้เกิดรอยแดง ดูไม่สวยงาม ไม่มั่นใจ ยิ่งรอยแดงเป็นมากขึ้นก็พยายามรักษาโดยการซื้อยามาทา ยาจำพวกนี้ส่วนใหญ่ได้แก่ BHA , AHA , HQ , steroid ซึ่งจะกัดผิวทำให้ผิวบาง พอเลิกทาก็กลับมาเป็นใหม่ รอยแดงก็ชัดขึ้น ดังนั้นเราจะแก้ไขปัญหาอย่างไรดี

จากการที่หมอได้ทำงานด้านเลเซอร์ผิวหนังและชอบเผลของเลเซอร์มาก หมอจึงได้ทำการวิจัยเรื่องขนคุด KP กับทีมแพทย์ SVJ และนีตนาท พบว่าการใช้เทคโนโลยีเลเซอร์มาช่วยเสริมในการรักษาขนคุด KP ทำให้รอยแดงรอยดำ และ อัตราการเกิดของขนคุด ลดลงอย่างดีมาก แต่มีข้อแม้ว่าต้องใช้เลเซอร์ให้ถูกกับรอยโรคครับ
การรักษาโรคขนคุดKP หมอใช้เลเซอร์ในการรักษาอยู่ 3 เครื่อง

  1. GentleYAG Laser ( 1064nm LP Nd:YAG ) เลเซอร์ชนิดนี้จะช่วยในการกำจัดขนคุดที่ติดอยู่ในโพรงขน และ ยังช่วยในการกำจัดขนส่วนเกินออกไปด้วย ทำให้อัตราการเกิด KP ลดลง
  2. Vbeam Laser ( 595nm LP PulseDye ) เลเซอร์จะช่วยในการลดการอักเสบลดรอยแดงบริเวณรอบรูขุมขน
  3. Fraxel Thulium จะช่วยในการรักษารอยดำที่เพิ่งเป็นหรือเป็นมานาน

ถ้าเป็น KP ที่มีรอยตุ่มๆคล้ายขนลุกตลอดเวลาให้รักษาด้วย GentleYAG

ถ้าเป็น KP ที่มีรอยแดงร่วมด้วยให้รักษาด้วย GentleYAG + Vbeam

ถ้าเป็นKPที่มีรอยแดงรอยดำคละกันไปหมอให้รักษาด้วย GentleYAG + Fraxel Thulium

ขอให้คนไข้ขนคุด KP ทุกท่านหายเร็วๆ ใครมีปัญหาสามารถเข้ามาปรึกษาหมอได้ครับในเรื่องการรักษาขนคุดด้วยเลเซอร์ครับที่ SVJ สยามทุกอังคาร ศุกร์ SVJ ฟิวเจอร์พาร์ค อาทิตย์ จันทร์ พุธ พฤหัส หรือใครมีคำถามหรือจะแบ่งปันข้อมูลการรักษากับหมอได้นะครับที่เวบบอร์ด www.svjclinic.com หรือทาง FB search คำว่า SVJ clinic ครับ

งานวิจัยเกี่ยวกับ KP จะเห็นได้ว่างานวิจัยใหม่ๆเกี่ยวกับKPของต่างประเทศในปัจจุบันนส่วนใหญ่มุ่งเน้นไปในการใช้เลเซอร์ช่วยการรักษาครับ หมอจะพยายามอัพเดตข้อมูลวิจัยของหมอให้อ่านอยู่เรื่อยๆนะครับ

Keratosis pilaris rubra and keratosis pilaris atrophicans faciei treated with pulsed dye laser: report of 10 cases.

Alcántara González J, Boixeda P, Truchuelo Díez MT, Fleta Asín B.

J Eur Acad Dermatol Venereol. 2011 Jun;25(6):710-4.

Treatment of pigmented keratosis pilaris in Asian patients with a novel Q-switched Nd:YAG laser.

Kim S.

J Cosmet Laser Ther. 2011 Jun;13(3):120-2.

Successful treatment of severe keratosis pilaris rubra with a 595-nm pulsed dye laser.

Kaune KM, Haas E, Emmert S, Schön MP, Zutt M

นพ. วิสิฏฐ ศรีสนิท
พบ รามาธิบดี Dip. In Dermatology
ผู้ก่อตั้ง SVJ Laser Clinic

:: Share This ::

9 คำถามก่อนทำ fraxel

จากประสบการณ์ที่ได้ทำการรักษาผู้ป่วยเรื่องสิวและรอยแผลเป็นสิวด้วยเลเซอร์เพียงอย่างเดียวมากว่า 5 ปี ปัจจุบันมีเลเซอร์ที่ได้รับความนิยมมากในเรื่องการรักษาหลุมสิวที่เรียกว่า Fraxel บทความนี้จะเป็นคำถามที่หมอมักถูกถามบ่อยๆ จึงอยากนำมาแบ่งปันให้ผู้อ่านในบทความนี้ครับ


เหมาะสำหรับการรักษาหลุมสิว แผลเป็นจากสิว แผลเป็นจากอุบัติเหตุ หน้าท้องลายจากการตั้งครรภ์ รูขุมขนกว้าง ปัญหากระแดด


Fraxel เครื่องมือ original ผลิตโดยบ. Solta สหรัฐอเมริกา ปัจจุบันมีการใช้อยู่ 3 รุ่น ได้แก่
Fraxel Restore เป็นรุ่นที่เหมาะกับการรักษารอยโรคลึกๆ ( ประมาณ 1,000 ไมครอนขึ้นไป ) เช่น รอยหลุมสิว รอยแผลเป็น รูขุมขนกว้าง
Fraxel Refine เป็นรุ่นที่ใช้แก้ปัญหาทางความสวยงาม กระชับรูขุมขน rejuvenation Fraxel Dual เป็นรุ่นที่มีหัวของ Restore และ หัว Thulium โดยหัว Thulium สามารถนำมารักษาฝ้าได้ดี ส่วน
Fraxel Repair ไม่เหมาะสำหรับผิวคนไทยจึงไม่นิยมใช้ Sellas, Fine Scan เป็นเครื่องมือที่มีหลักการ Fractional เหมือนFraxel แต่ไม่ใช่ Fraxel


ไม่ต้องเตรียมตัวเป็นพิเศษแต่อย่างไร�


คนไข้ที่มีปัญหาหน้าบาง ผิวติดสเตียรอยด์ ต้องได้รับการรักษาให้ดีขึ้นก่อนจึงจะ ทำ Fraxel ได้ ประเด็นนี้สำคัญครับ เพราะแพทย์ที่เข้าใจเรื่องผิวติดสเตียรอยด์มีไม่มาก การวินิจฉัยต้องใช้ประสบการณ์ เพราะฉะนั้นหากคิดว่ามีปัญหาหน้าบางให้มาปรึกษาผมก่อนที่จะทำ fraxel จะดีที่สุดครับ


ใช้เวลาทั้งหมดประมาณ 60 นาที โดยแบ่งเป็น แปะยาชา 30 นาที ทำ fraxel 10 นาที เป่าลมเย็นและทาครีมกระตุ้นหลุม 20 นาที ส่วนเจ็บไม่เจ็บขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของแพทย์ ส่วนตัวคนไข้บอกว่าเจ็บน้อยกว่าที่คิดไว้มาก


ถ้าเป็นเครื่อง fraxel ของแท้ จะไม่มีรอยตาข่ายอย่างที่กลัวกัน รอยแดงเป็นมากที่สุด 1 วันหลังทำ จากนั้นไม่เกิน วันที่ 3 จะแทบปกติจากประสบการณ์หมอ ถ้ากลัวเรื่องรอยแดงมากให้มาทำวันศุกร์ วันจันทร์ไปทำงานได้ไม่มีปัญหาครับ


งดทาครีมบำรุงประมาณ 3-7 วันขึ้นอยู่กับสภาพผิวครับ หมอจะเป็นคนประเมินเอง แต่งหน้าได้วันที่ 3 หลังทำ


ปัญหาของคนไข้ที่ทำ fraxel แล้วไม่ได้ผล ส่วนใหญ่เกิดจากการมีปัญหาผิวติดสเตีรอยด์หรือหน้าบางอยู่แล้วไม่ได้ทำการแก้ไข ยิ่งทำ fraxel นอกจากไม่ได้ผลดีแล้วบางทีอาจได้ผลเสียตามมาอีก ประสบการณ์ของแพทย์ก็เป็นอีกองค์ประกอบนึง และสุดท้ายเครื่องมือก็มีส่วนสำคัญ คนไข้บางคนมาคุยกับหมอว่าเคยไปทำ fraxelแล้วไม่ได้ผล ถามไปถามมากลายเป็นว่าเข้าใจผิดคิดว่าเครื่องเลเซอร์ที่เคยทำเป็น fraxel แต่ความจริงแล้วไม่ใช่


ขึ้นอยู่กับ ความเชื่อมั่นระหว่างคนไข้กับหมอ ความจริงใจระหว่างคนไข้กับหมอ ถ้าคุยกับหมอแล้วคิดว่าหมอคนนี้ใช่ มีหลักการ มีจรรยาบรรณ ก็ทำได้เลยครับ

นพ.วิสิฏฐ ศรีสนิท

:: Share This ::