fbpx

ผิวหนังในช่วงตั้งครรภ์

ในช่วงเวลาตั้งครรภ์ร่างกายคุณแม่มีการเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างมากเพื่อเตรียม รับขวัญลูกน้อยที่อยู่ในท้องคุณแม่ ผิวหนังก็มีการเปลี่ยนแปลงเช่นกันโดยสรุปได้ดังนี้

1. สีผิวเข้มขึ้น อันเนื่องจากระดับฮอร์โมนทำให้สีผิวเปลี่ยนแปลงโดยเฉพาะบริเวณ รอบหัวนม ท้อง รักแร้ คอ อาการเหล่นนี้คุณแม่ไม่ต้องเป็นห่วงครับจะหายเองหลังคลอด

2. หลอดเลือดขยายตัว ถ้าเป็นที่ผิวหนังก็จะมีลักษณะของเส้นเลือดขอด แต่ถ้าเป็นที่ก้นก็จะพบว่าเป็นริดสีดวง ซึ่งปัญหาเหล่านี้จะดีขึ้นภายหลังการคลอด การพิจารณารักษาก็จะรักษาตามอาการในขณะตั้งครรภ์

3. หลอดเลือดเปราะ คุณแม่อาจมีอาการเลือดกำเดาออกง่าย แปรงฟันแล้วมีเลือดออกตามไรฟัน หากมีปัญหาเหล่านี้ไม่ต้องตกใจครับเพราะจะหายเองได้ภายหลังการคลอด

4. ตกขาวผิดปกติ หากไม่มีอาการคัน ไม่ต้องกังวลครับเพราะเป็นผลจากระดับฮอร์โมนนั่นเอง และจะหายได้เองภายหลังการคลอด

เรา จะเห็นว่าปัญหา4ข้อดังกล่าวเป็นปัญหาที่สามารถหายเองได้หลังคลอด แต่ปัญหาต่อไปจากนี้จะเรื่องที่ไม่หายภายหลังการตั้งครรภ์ครับ คุณแม่ที่มีปัญหาเหล่านี้ควรปรึกษาแพทย์หากมีอาการ

5. ผมร่วงหลังคลอด เนื่องจากระดับฮอร์โมนลดลงหลังการคลอด ทำให้เส้นผมหยุดการเจริญเติบโตพร้อมๆกัน ประกอบกับหลังคลอดลูกคุณแม่มือใหม่อาจมีภาวะเครียดและขาดสารอาหาร เนื่องจากต้องเลี้ยงดูลูก ทำให้เกิดผมร่วงผิดปกติภายหลังการคลอดได้ส่วนใหญ่จะพบในระยะ 3-6 เดือนหลังคลอดแต่ถ้าเลยกว่า 6 เดือนแล้วเส้นผมยังไม่หยุดร่วงควรปรึกษาแพทย์เพื่อการรักษาแต่เนิ่นๆ ตามประสบการณ์ของหมอหากยิ่งทิ้งไว้นานเส้นผมขาดการดูแล เมื่อมาทำการ test ด้วย DIHAM Lab ถ้าพบว่าขนาดเส้นผมเล็กกว่า 50 ไมครอน และจำนวนเส้นผมน้อยกว่า 35 เส้นต่อ 25 ตารางมิลลิเมตร ควรรีบปรึกษาปัญหาผมร่วง
6. หน้าท้องลาย ปัญหานี้พบบ่อยที่สุดและเป็นปัญหาที่คุณแม่ไม่อยากมีที่สุด หน้าท้องลายเกิดจากการขยายตัวของผิวหนัง ทำให้เส้นใยคอลลาเจนและอีลาสตินถูกทำลาย รวมทั้งมีการเสียการทำงานของหลอดเลือดใต้ผิวหนัง ในอดีตการใช้ครีมทาในกลุ่มวิตามินเอ AHA ยังให้ผลได้ไม่ดีนัก ในปัจจุบันมีการนำเลเซอร์เข้ามาใช้ในการรักษาซึ่งให้ผล ตามประสบการณ์ของหมอหากทำเลเซอร์ Vbeamร่วมกับFraxel จะได้ผลดีที่สุด
7. หน้าท้องหย่อนคล้อย เกิดจากผิวหนังที่ถูกยืดออก การออกกำลังกายจะช่วยทำให้ผิวหนังกระชับมากขึ้น แต่ในคนไข้บางคนที่น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นมากระหว่างการตั้งครรภ์ การออกกำลังกายเพียงอย่างเดียวยังไม่พอ ปัจจุบันมีการนำเทคโนโลยี RF ที่เรียกว่า Thermage มาช่วยในการยกกระชับผิวหนังส่วนนี้ ซึ่งได้ผลดี
8. สิว คน โบราณมักบอกว่าถ้าได้ลูกชายผิวแม่อาจหมองคล้ำมีสิว ถ้าได้ลูกสาวผิวแม่จะผ่องใส สิวในช่วงการตั้งครรภ์เป็นปัญหาใหญ่จริงๆครับเพราะการรักษาสิวส่วนใหญ่มัก ต้องใช้ยา ซึ่งยาที่ห้ามใช้ระหว่างการตั้งครรภ์ได้แก่ วิตามินเอ ยาฆ่าเชื้อต่างๆ หมอเองเมื่อมีคนไข้ที่เป็นสิวมาปรึกษาระหว่างการตั้งครรภ์ในสมัยก่อนลำบากใน การรักษามากแต่ตอนนี้สบายมากครับมีการใช้เลเซอร์มารักษาสิวโดยไม่เป็น อันตรายต่อทารกในครรภ์ครับและได้ผลดีด้วย แต่ต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์เท่านั้นนะครับ

จะเห็นได้ว่าภาวะการตั้งครรภ์ก็ทำให้ผิวหนังเกิดการเปลี่ยนแปลงได้นะครับ หมอเขียนบทความนี้ก็เพื่ออยากให้คุณแม่ทุกท่านมีผิวสวยตลอดและหลังการตั้ง ครรภ์ครับ เนื่องจากหมอก็เป็นคุณพ่อมือใหม่เหมือนกัน ขอให้คุณพ่อและคุณแม่ทุกท่านมีความสุขในการเห็นพัฒนาการและความสวยงามของลูกๆนะครับ
นพ. วิสิฏฐ ศรีสนิท
พบ.รามาธิบดี
Diploma in Dermatology สถาบันโรคผิวหนัง

:: Share This ::

การรักษาสิวสำหรับสตรีตั้งครรภ์

หมอเขียนบทความนี้ขึ้น เนื่องจากคนไข้จำนวนไม่น้อยที่มาปรึกษาปัญหาสิวพร้อม ๆ กับเตรียมตัวเป็นว่าที่คุณแม่มือใหม่ โดยคำถามที่หมอมักถูกถามบ่อย ๆ คือ

  • ยารักษาสิวทำให้ทารกในครรภ์พิการจริงหรือ ?
  • ยารักษาสิวมีผลข้างเคียงอะไรบ้าง ?
  • สามารถซื้อมาใช้เองนาน ๆ ได้หรือไม่ ?
  • ควรรักษาสิวอย่างไรถ้าอยู่ในระหว่างการตั้งครรภ์ ฯลฯ

ปัจจุบันคนไทย ให้ความสนใจในการดูแลตัวเองมากขึ้นกว่าสมัยก่อน และส่วนใหญ่คิดว่า สิวเป็นแค่เรื่องความสวยความงาม เมื่อมีปัญหาจึงมักซื้อยามาใช้เองหรือปรึกษาช่างเสริมสวยตามค่านิยมของคนไทย อะไรใช้แล้วดีบอกต่อ รวมทั้งความก้าวหน้าของสื่อยุคใหม่ทำให้มีโฆษณาชวนชื่อเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์รักษาสิว, ผิวหน้าออกมามากมาย แต่ผู้ที่ใส่ใจสุขภาพตัวเองไม่ควรเชื่อคำโฆษณาง่ายเกินไป อาจทำให้เสียเงินทองและเวลาโดยไม่จำเป็น รวมทั้งบางสื่อมีการนำเสนอข้อมูลเพียงด้านเดียว อาจยังขาดข้อมูลทางวิชาการที่ถูกต้อง

การรักษาสิวมีหลายวิธี ตามระดับความรุนแรงของปัญหาสิว สำหรับในบทความนี้หมอขอกล่าวถึง การรักษาสิววิธีต่าง ๆ เฉพาะในสตรีตั้งครรภ์นะคะ
เริ่มจากยาทา มีทั้งยาแต้มสิวอักเสบเฉพาะที่ ซึ่งเป็นยาฆ่าเชื้อสิว, ยาทาละลายหัวสิวอุดตัน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม

1) BP ชื่อเต็ม คือ Benzyl Peroxide ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มฆ่าเชื้อสิวด้วย เป็นยาที่แพทย์มักให้ทาสิวก่อนล้างหน้า 5-10 นาทีแล้วล้างออก ยาในกลุ่มนี้ปลอดภัยสำหรับสตรีตั้งครรภ์
2) ยากลุ่มกรดวิตามิน เอ เป็นยาที่ใช้ทาเฉพาะกลางคืน เพราะไวต่อแสงไม่ควรใช้ในสตรีตั้งครรภ์
เนื่องจากเหตุผลเดียวกับยารับประทานกลุ่มกรดวิตามินเอ ซึ่งหมอจะขออธิบายเหตุผลรวมกับกลุ่มยารับประทานต่อไป

สำหรับยารับประทานรักษาสิวมีหลายกลุ่ม
ยาที่ถูกถามบ่อยที่สุด คือ ยากลุ่มกรดวิตามินเอ (Isotretionin) ยากลุ่มนี้ราคาแพงและมีข้อแทรกซ้อนสูง คือทำให้ปากแห้ง, ตาแห้ง, ปวดศีรษะ, ปวดข้อ ไขมันในเลือดสูง ฯลฯ เป็นยากลุ่มที่ควบคุมพิเศษ ต้องสั่งจ่ายโดยแพทย์ผิวหนังเท่านั้นค่ะ เพราะมีข้อบ่งชี้ในการใช้ยาชัดเจน คือ ใช้เฉพาะในสิวที่รุนแรง คือ สิวหัวช้าง, สิวที่ดื้อต่อการใช้ยาปฏิชีวนะ และสิวที่ทำให้เกิดแผลเป็นอย่างรุนแรงบนใบหน้า

ยากลุ่มกรดวิตามินเอนี้ ไม่ควรใช้ในสตรีตั้งครรภ์เด็ดขาด เพราะสามารถทำให้ทารกในครรภ์พิการได้อย่างมากคือ ทำให้ศีรษะโตหรือเล็กผิดปกติ ในหน้าและตาผิดปกติปัญญาอ่อน หรือหัวใจผิดปกติได้
ผู้ป่วยที่ได้รับยากลุ่มนี้จึงต้องคุมกำเนิดอย่างน้อย 1 เดือน ก่อนได้รับยา ไม่ตั้งครรภ์ระหว่างรับยา และต้องหยุดยาจนครบ 1 เดือน จึงจะตั้งครรภ์โดยปลอดภัยต้องไม่นำยาไปแบ่งให้ผู้อื่นโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ และต้องไม่บริจาคเลือดระหว่างรับยา เพราะยาสามารถดูดซึมผ่านกระแสเลือดได้

ส่วนยารับประทานในกลุ่มยาปฏิชีวนะ (ยาฆ่าเชื้อสิว) ยาตัวที่ไม่ควรใช้ในสตรีตั้งครรภ์ที่มีสิว คือ เตตร้าซัยคลีน (Tetracyclire) เพราะยานี้มีผลเสียต่อตับของแม่ ทำให้ฟันน้ำนมของลูกมีสีเหลือง และมีความผิดปกติเกิดในลูกได้
นอกจากยาที่หมอเล่ามาทั้งหมดแล้ว ปัจจุบันยังมีการใช้สารเคมีมาทำยาปลอบเลียนแบบยาในกลุ่มต่าง ๆ ที่รักษาสิว จึงน่าเป็นห่วงอย่างยิ่งว่าทารกไทยในอนาคตจะเสี่ยงต่อความเป็นเด็กพิการสูงมาก

ถ้าอย่างนั้นในสตรีตั้งครรภ์เป็นสิวจะทำอย่างไรดี ?

คำตอบ คือ ไม่ยากค่ะ ควรปรึกษาแพทย์ถึงการใช้ยารักษาสิวบางกลุ่มที่สามารถเลือกใช้ใน
สตรีตั้งครรภ์ได้ และปัจจุบันเทคโนโลยีก้าวไกลไปมากจนวงการแพทย์ผิวหนังเราสามารถนำความรู้ในการใช้แสงเลเซอร์มารักษาสิวและปัญหาผิวพรรณได้อย่างปลอดภัยในสตรีตั้งครรภ์ได้ด้วย โดยแพทย์สามารถเลือกเครื่องเลเซอร์ที่ช่วยรักษาปัญหาสิวเฉพาะจุด (Local) โดยไม่เกิดผลข้างเคียงต่อบริเวณอื่นและทารกในครรภ์
หวังว่าบทความนี้คงช่วยให้ว่าที่คุณแม่มือใหม่ได้ความรู้เพิ่มและปรับใช้ระมัดระวังตัวในขณะตั้งครรภ์นะคะ ถ้ามีคำถามอื่น ๆ เพิ่มเติมหรือเกิดปัญหาสิวขึ้นระหว่างตั้งครรภ์สามารถมาปรึกษาทีมแพทย์ SVJ ถึงการใช้แสงรักษาสิวได้ หมอยินดีให้คำแนะนำทุกเมื่อค่ะ
เรียบเรียงโดย พญ. สุรัติ อัศวานุชิต

:: Share This ::