fbpx

การกำจัดขนใช้เลเซอร์ หรือ IPL ดี ??

เลเซอร์คืออะไรคะ ??
เลเซอร์คือ พลังงานแสงชนิดหนึ่งที่มีความเข้มของแสงเฉพาะเจาะจงที่ความยาวคลื่นเพียง 1 จุดคลื่น
ดังนั้นเมื่อมีความยาวคลื่นเพียงแค่1จุดคลื่นทำให้รักษาโรคได้เฉพาะเจาะจงมากๆ
แต่ข้อเสียคือ เลเซอร์ 1 เครื่องมักใช้ทำหัตถการได้เพียงแค่อย่างเดียว

IPL คืออะไรคะ ??
IPL คือพลังงานแสงที่มีความเข้มของแสงที่ไม่เฉพาะเจาะจง พลังงานที่ออกมาจะเป็นความยาวคลื่นเป็นช่วงๆ
ดังนั้นพลังงานจาก IPL จึงไม่เฉพาะเจาะจงกับเซลผิวหนัง ผลที่ได้คือ รักษาได้รวมๆแต่ไม่เฉพาะเจาะจง

เลเซอร์ กับ IPL
จากข้อมูลขั้นต้น ที่หมอบอกมา สรุปได้เลยครับว่า เลเซอร์นั้นดีกว่า IPL แน่ๆ แต่ปัญหาของเลเซอร์คือ ต้องใช้เลเซอร์หลายๆ เครื่องในการรักษาผิวโดยรวม เช่น กำจัดขนก็ต้องเลเซอร์ GentleYAG รอยสิวต้อง Vbeam สิวอักเสบต้อง Smoothbeam ดังนั้นมีไม่มากคลินิกที่จะมีเลเซอร์ให้บริการหลายๆเครื่อง เพราะเลเซอร์นั้นราคาแพงกว่า IPL มาก และยังต้องมีหลายเครื่องไว้เพื่อดูแลปัญหาให้ครบถ้วน ดัวนั้นที่ไหนมีเลเซอร์ครบๆให้ทำไปเถอะครับ

เลเซอร์กำจัดขน จุดคลื่นไหนดี ??
เลเซอร์ที่ใช้ในการกำจัดขน ปัจจุบันเราใช้ในโหมดของ Long pulse ทั้งหมดแล้ว เพราะได้ผลดีและประหยัดเวลาการทำ
ส่วนจุดคลื่นที่จะเลือกใช้นั้นสมัยก่อนเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ว่าจะใช้จุดคลื่นไหนดีในการกำจัดขน

  • Ruby laser
  • Alexandrite laser
  • Diode laser
  • YAG laser

ซึ่งในปัจจุบันผลสรุปออกมาแล้วว่าในผิวคนเอเชียเราเลือกใช้จุดคลื่นของ YAG ที่มีความยาวคลื่นยาวที่สุด ลงไปใต้ชั้นผิวมากที่สุด ในการกำจัดขนด้วยเลเซอร์

Long Pulse Nd:YAG ชนิดไหนดี ??
เนื่องจาก Long Pulse Nd:YAG มีผลิตจากหลายประเทศ ส่วนตัวหมอชอบใช้เลเซอร์จากอเมริกาครับ เครื่องที่หมอเลือกคือ Long Pulse Nd:YAG จากบริษัท Candela ซึ่งข้อดีของเจ้าตัวนี้คือ มี DCD spray ทำให้หลังทำเลเซอร์ไม่มีแผล ไม่ต้องพักผิวครับ

 

:: Share This ::

Gentle YAG คือ เลเซอร์อะไร??

YAG เลเซอร์ คืออะไร??
แสงเลเซอร์ที่ให้พลังงาน 532nm และ 1064nm ซึ่งจำเพาะต่อเม็ดสีเมลานินหรือสีดำ

YAG แบ่งเป็น 2 กลุ่ม
1. กลุ่มที่ทำแล้วเป็นสะเก็ดแผล และ ลอกผิว เรียกว่า Q Switch YAG
2. กลุ่มที่ทำแล้วไม่เป็นสะเก็ดแผล เรียกว่า Long Pulse YAG

Q Switch YAG  เป็นเลเซอร์ที่ทำแล้วเป็นสะเก็ดแผล ใช้รักษาเรื่องจุดสีดำบนใบหน้าได้ดี เช่น ขี้แมลงวัน ไฝ ปานดำ กระลึก
ใช้รักษารอยสักก็ดี โดยเฉพาะรอยสักสีเขียว สีดำ  ความสวยงามนำมาใช้ในการทำหน้าใสด้วยคอนเซ็บการลอกหน้า หมอไม่แนะนำเพราะทำบ่อยๆผิวบาง กลุ่มนี้สังเกตง่ายๆ เวลาทำจะมีเสียงแป้ะๆๆๆๆ บนใบหน้า ทำเสร็จถ้าพลังงานต่ำๆ ผิวจะแดงๆ ถ้าพลังงานสูงจะเป็นสะเก็ดแผลหลังทำ

Long pulse YAG  เป็น YAG ในกลุ่มที่ไม่เป็นแผลหลังทำ  ใช้ได้ดีในการรักษาเรื่องความสวยงาม ทำหน้าใส กระตุ้นคอลลาเจนชั้นตื้นๆ แต่มีเลเซอร์อีกหลากหลายที่ให้คุณสมบัติเช่นนี้ ดีที่สุดคือ “การกำจัดขน”

การกำจัดขนโดย Long Pulse YAG นับว่าดีที่สุดในปัจจุบัน ดีกว่า IPL มากมาย เพราะพลังงาน 1064 ไปกำจัดเซลรากขนชั้นลึกกว่า IPL ดังเห็นได้จากคลิปที่หมอวิสิฏฐ ยิงเลเซอร์กำจัดขนและขนกระเด็นออกมาทันทีหลังยิงเลเซอร์ LongPulse YAG ปลอดภัย ไม่มีสะเก็ดแผลหรือ รอยแดงหลังทำ สามารถกลับไปทำงานหรือโดนแดดได้ตามปกติทันที

ขนคุดเรื้อรัง กับ LongPulse YAG
SVJ clinic เราพัฒนาการให้พลังงานของ LongPulse YAG เพื่อไปทำลายขนคุด ดังนั้นคนไข้ที่ทุกข์ทรมานจากขนคุด สามารถบรรเทาอาการได้ด้วยเลเซอร์ LongPulse YAG โดยเราไม่ใช้ยาทาลอกผิว หรือ สเตียรอยด์ หลังทำเลเซอร์เลย เพราะ เราคิดว่าการทายาลอกผิวและ สเตียรอยด์ จะยิ่งทำให้อาการขนคุดแย่ลง

 

:: Share This ::

คุยเรื่อง “ขนคุด กับ เลเซอร์” กับหมอวิสิฏฐ

มีปัญหาหนึ่งที่เป็นปัญหาโรคผิวหนังที่คนเป็นกันจำนวนมากแล้วก็รักษาให้ดีขึ้นได้ยากเช่นกัน โรคนั้นคือ
โรคขนคุด (KP) ครับ

โรคขนคุด หรือ KP ( Keratosis Pilaris ) เป็นโรคที่พบได้บ่อยมากไม่น้อยไปกว่าสิวเลยครับ คือ ประมาณ 50-60%
ของประชากรทั่วไป โดยอาการจะเริ่มเป็นมากในช่วงวัยรุ่นและดีขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น สาเหตุของขนคุดนั้นยังไม่เป็น
ที่ทราบอย่างแน่ชัด แต่จากประสบการณ์ของหมอพบว่าสาเหตุน่าจะมาจาก

  1. การที่แนวโพรงขนบริเวณแขน ขา หลัง ที่ขนขึ้นไม่เป็นระเบียบทำให้เกิดการติดขัดในการขึ้นของเส้นขน
    ยกตัวอย่างบริเวณที่พบขนคุดได้บ่อยที่สุดคือ บริเวณต้นแขนด้านนอกจะสังเกตว่าแนวขนบริเวณนี้จะมีแนวขึ้น
    สะเปะสะปะ  คล้ายขวัญ แนวขวัญที่ไม่เป็นระเบียบนี้เองทำให้เส้นขนไม่สามารถงอกทะลุผิวหนังขึ้นมาได้
    เกิดขนคุด KP
  2. การที่ผิวหนังมีความชุ่มชื้นน้อย ผิวแห้ง( Dry skin or Ichthyosis ) เมื่อผิวแห้งมากๆทำให้เกิดการสร้างชั้นผิวหนังที่ไม่สมบูรณ์ จึงทำให้เส้นขนไม่สามารถทิ่มทะลุผ่านได้เกิดขนคุดKP
  3. การมีแนวเส้นเลือดที่ผิด ( abnormal blood vessel ) ทำให้เกิดอาการแดง รอยแดงหายยากจากการเป็นขนคุด เกิดเป็นรอยตุ่มแดงที่รูขุมขน
  4. เกิดจากพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม การเกาผิวหนังบ่อยๆทำให้เกิดการกระตุ้นอาการแพ้และอาการอักเสบของผิวหนัง เกิดเป็นรอยดำคล้ายฝ้า

แล้วปัญหาของขนคุดคืออะไร ส่วนใหญ่แล้วปัญหาคือ ความรำคาญ ครับ คนไข้ที่มาหาหมอส่วนใหญ่จะเบื่อมากที่มีตุ่มๆ บริเวณต้นแขน หลัง ขา ทำอย่างไรก็ไม่หายซักที พอเป็นนานๆเข้าก็พยายามแกะ เกาให้ขนหลุดออกมา เกาไปนานๆทำให้เกิดรอยแดง ดูไม่สวยงาม ไม่มั่นใจ ยิ่งรอยแดงเป็นมากขึ้นก็พยายามรักษาโดยการซื้อยามาทา ยาจำพวกนี้ส่วนใหญ่ได้แก่ BHA , AHA , HQ , steroid ซึ่งจะกัดผิวทำให้ผิวบาง พอเลิกทาก็กลับมาเป็นใหม่ รอยแดงก็ชัดขึ้น ดังนั้นเราจะแก้ไขปัญหาอย่างไรดี

จากการที่หมอได้ทำงานด้านเลเซอร์ผิวหนังและชอบเผลของเลเซอร์มาก หมอจึงได้ทำการวิจัยเรื่องขนคุด KP กับทีมแพทย์ SVJ และนีตนาท พบว่าการใช้เทคโนโลยีเลเซอร์มาช่วยเสริมในการรักษาขนคุด KP ทำให้รอยแดงรอยดำ และ อัตราการเกิดของขนคุด ลดลงอย่างดีมาก แต่มีข้อแม้ว่าต้องใช้เลเซอร์ให้ถูกกับรอยโรคครับ
การรักษาโรคขนคุดKP หมอใช้เลเซอร์ในการรักษาอยู่ 3 เครื่อง

  1. GentleYAG Laser ( 1064nm LP Nd:YAG ) เลเซอร์ชนิดนี้จะช่วยในการกำจัดขนคุดที่ติดอยู่ในโพรงขน และ ยังช่วยในการกำจัดขนส่วนเกินออกไปด้วย ทำให้อัตราการเกิด KP ลดลง
  2. Vbeam Laser ( 595nm LP PulseDye ) เลเซอร์จะช่วยในการลดการอักเสบลดรอยแดงบริเวณรอบรูขุมขน
  3. Fraxel Thulium จะช่วยในการรักษารอยดำที่เพิ่งเป็นหรือเป็นมานาน

ถ้าเป็น KP ที่มีรอยตุ่มๆคล้ายขนลุกตลอดเวลาให้รักษาด้วย GentleYAG

ถ้าเป็น KP ที่มีรอยแดงร่วมด้วยให้รักษาด้วย GentleYAG + Vbeam

ถ้าเป็นKPที่มีรอยแดงรอยดำคละกันไปหมอให้รักษาด้วย GentleYAG + Fraxel Thulium

ขอให้คนไข้ขนคุด KP ทุกท่านหายเร็วๆ ใครมีปัญหาสามารถเข้ามาปรึกษาหมอได้ครับในเรื่องการรักษาขนคุดด้วยเลเซอร์ครับที่ SVJ สยามทุกอังคาร ศุกร์ SVJ ฟิวเจอร์พาร์ค อาทิตย์ จันทร์ พุธ พฤหัส หรือใครมีคำถามหรือจะแบ่งปันข้อมูลการรักษากับหมอได้นะครับที่เวบบอร์ด www.svjclinic.com หรือทาง FB search คำว่า SVJ clinic ครับ

งานวิจัยเกี่ยวกับ KP จะเห็นได้ว่างานวิจัยใหม่ๆเกี่ยวกับKPของต่างประเทศในปัจจุบันนส่วนใหญ่มุ่งเน้นไปในการใช้เลเซอร์ช่วยการรักษาครับ หมอจะพยายามอัพเดตข้อมูลวิจัยของหมอให้อ่านอยู่เรื่อยๆนะครับ

Keratosis pilaris rubra and keratosis pilaris atrophicans faciei treated with pulsed dye laser: report of 10 cases.

Alcántara González J, Boixeda P, Truchuelo Díez MT, Fleta Asín B.

J Eur Acad Dermatol Venereol. 2011 Jun;25(6):710-4.

Treatment of pigmented keratosis pilaris in Asian patients with a novel Q-switched Nd:YAG laser.

Kim S.

J Cosmet Laser Ther. 2011 Jun;13(3):120-2.

Successful treatment of severe keratosis pilaris rubra with a 595-nm pulsed dye laser.

Kaune KM, Haas E, Emmert S, Schön MP, Zutt M

นพ. วิสิฏฐ ศรีสนิท
พบ รามาธิบดี Dip. In Dermatology
ผู้ก่อตั้ง SVJ Laser Clinic

:: Share This ::

การกำจัดขนด้วยเทคโนโลยีเลเซอร์ ไม่ปลอดภัยเสมอไป

“เมื่อวันก่อนหมอมีคนไข้มาหาด้วยปัญหารอยไหม้บริเวณขาเนื่องจากไปกำจัดขนหน้า แข้งด้วยเลเซอร์ ลองเพาซ์แยค ( Long Pusle YAG ) ยี่ห้อหนึ่ง ซึ่งคนไข้ได้ถามหมอว่าเป็นเพราะอะไรทำไมถึงเกิดรอยไหม้ได้เพราะคนไข้เคยทำเลเซอร์Gentle YAG กับหมอมาก่อน( ซึ่งเป็นเลเซอร์กลุ่มลองเพาซ์แยกเหมือนกัน) แต่ไม่มีปัญหาแต่อย่างไร”

เพราะเหตุใดเลเซอร์ลองเพาซ์แยค Long Pusle YAG ที่มี่ความยาวคลื่นเท่ากันคือ 1064 nm แต่มีประสิทธิภาพและความปลอดภัยต่างกัน

หมออธิบายง่ายๆครับในความเหมือนที่ แตกต่างใน5 ประเด็น

1. ช่วงคลื่นเดียวกันแต่ประสิทธิภาพต่างกัน
a. หากเราฟังเพลงจากคลื่นวิทยุเช่น FM 94 เหมือนกันแต่ทำไมฟังในเครื่องรับที่เป็นมือถือเสียงดีสู้เครื่องรับที่เป็น วิทยุอย่างดีไม่ได้ เปรียบเสมือนเลเซอร์ที่มีช่วงคลื่นที่เท่ากันแต่เครื่องมือที่ส่งพลังงานออก มาต่างกันทำให้ประสิทธิภาพต่างกัน ดังนั้นในการเลือกใช้เครื่องมือถึงแม้มีความยาวคลื่นเท่ากันแต่ไม่ได้หมาย ความว่าผลออกมาจะดีเหมือนกัน

2. กำจัดขนอย่างไร ไม่ไหม้
a. เครื่องเลเซอร์ที่ดีจะต้องมีระบบป้องกันผิวชั้นบนที่ดี ระบบป้องกันการไหม้ในปัจจุบันที่ดีที่สุดก็คือ ระบบพ่นความเย็นแบบละเอียดจากหัวเลเซอร์ ( DCD dynamic cooling device ซึ่งเป็นสิทธิบัตรของบริษัทcandela USA มีอยู่ในเลเซอร์ Vbeam Smoothbeam และ GentleYAG) ยังมีระบบให้ความเย็นรูปแบบอื่นเช่น การพ่นลมเย็นธรรมดา ( air cooling ) หรือการใช้แผ่นโลหะเย็นประคบก่อนยิงเลเซอร์ ( contact cooling ) ส่วนการใช้เจลเย็นทาหน้าก่อนทำ IPL เป็นการให้ความเย็นป้องกันผิวไหม้ แต่การทาเจลเย็นทำให้คุมอุณหภูมิยาก การทำ IPL จึงไหม้ได้ง่าย

3. เลือกช่วงคลื่นไหนดี
a. ดั่งการฟังเพลงคลื่นที่เปิดเพลงดีย่อมทำให้ผู้ฟังชื่นชอบ ช่วงคลื่นที่นำมาใช้ในการกำจัดขนปัจจุบันมีการนำมาใช้มี 4 ช่วงคลื่น 755nm 810nm 1064nm และ IPL หากเทียบความประสิทธิภาพและความปลอดภัยในผิวคนไทย( skintype 4 ) จะเรียงลำดับดังนี้ 1064nm ปลอดภัยที่สุด รองลงมาได้แก่ 810nm 755nm และ IPL

4. เครื่องมือแต่ละชนิดมีความต่างกันอย่างไร
a. เหมือนมือถือแต่ละยี่ห้อก็จะมี option ต่างๆกันเช่นมี wifi, Bluetooth เครื่องเลเซอร์ก็เหมือนกัน เลเซอร์กำจัดขนที่ดีต้องมีหัวยิงเลเซอร์ ( spot size ) ที่ใหญ่เพื่อความเร็วและประสิทธิภาพที่ดีกว่า หัวยิงที่ใหญ่จะทำให้แสงเลเซอร์ลงไปในผิวหนังได้ลึกกว่าหัวยิงเล็ก ระบบป้องกันผิวไหม้ ถ้าเป็นระบบ DCD จะปลอดภัยที่สุด ถ้าไม่มีระบบทำความเย็นในตัวเครื่องเลยก็จะทำให้เกิดการไหม้ง่าย

5. ราคาค่ารักษา
a. จะพบว่าค่ารักษาในปัจจุบันจะแตกต่างกันมากอาจเริ่มต้นตั้งแต่ 1,000 บาทจนถึง 5,000 บาทในการกำจัดขนรักแร้ 2,000 บาทจนถึง 20,000 บาทในการกำจัดขนหน้าแข้ง เพราะเหตุใดค่ารักษาจึงได้แตกต่างกันมากเนื่องจาก
เครื่องเลเซอร์ที่ไม่เหมือนกัน IPL จากจีนมีราคาไม่ถึงห้าแสนบาท แต่GentleYAG ราคาไม่น้อยกว่าสามล้านบาท
ค่าใช้จ่ายในระบบทำความเย็น การใช้เจลเย็นอาจมีต้นทุนไม่ถึง 2 บาทแต่ระบบ DCD อาจมีค่าใช้จ่ายถึง 500 บาทต่อครั้ง
ดังนั้นในการทำเลเซอร์กำจัดขนจึงต้องพิจารณาถึงผลได้ผลเสีย เลือกที่ค่าใช้จ่ายถูกอย่างเดียวไม่เป็นผลดีเสมอไป เมื่อเกิดการภาวะแทรกซ้อนอาจต้องเสียค่าใช้จ่ายแพงกว่าก็เป็นได้ ดังนั้นการตัดสินใจทำเลเซอร์จึงต้องไตร่ตรองอย่างรอบคอบเสมอ

ตารางเปรียบเทียบเครื่องมือเลเซอร์กำจัดขน

:: Share This ::

Gentle YAG & Thermage ช่วยยกกระชับผิว ?

ได้มีการวิจัย โดย Dr. Mark Taylor แพทย์ผิวหนังจากประเทศสหรัฐอเมริกาในปี 2005 เปรียบเทียบผลการรักษา 1 ครั้ง ระหว่าง การลดริ้วรอยและยกกระชับผิวหน้าด้วย Nd:YAG laser (Gentle YAG) เทียบกับ Radiofrequency (Thermage) Dr. Mark Taylor ศึกษาผลการวิจัยในผู้ป่วย 9 คน โดยแบ่งผลการรักษาเปรียบเทียบระหว่าง หน้าด้านซ้ายยกกระชับผิวหน้าโดยใช้ Gentle YAG หน้าด้านขวายกกระชับผิวหน้าโดยใช้ Thermage

หลังการรักษาพบว่า Gentle YAG สามารถลดริ้วรอยและยกกระชับผิวหน้าได้อย่างมีประสิทธิภาพและได้ผลเป็นที่น่าพอใจ ใกล้เคียงหรือดีกว่าเล็กน้อย เมื่อเทียบกับหน้าอีกด้านที่ใช้ Thermage รักษาในผู้ป่วยที่เข้าร่วมการวิจัย

:: Share This ::