ปัญหาเรื่องการแอบใส่ สาร steroid ในครีมต่างๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการใช้ครีมเหล่านั้นในการป้องกันและลดอาการอักเสบ การระคายเคืองโดยไม่ได้คำนึงถึงผลข้างเคียงที่จะตามมา นั้นไม่ ใช่เป็นปัญหาที่น่ากังวลเฉพาะในเมืองไทยเท่านั้น
มีรายงานตั้งแต่ปี 1999 ในวารสาร British Medical Journal เล่มที่ 318 หน้า 563-564 โดยทีมแพทย์ผิวหนังของ มหาวิทยาลัยแพทย์ King College แห่งกรุงลอนดอน ประเทศ อังกฤษ นำโดย E M. Higgins ว่า ครีมที่อ้างว่าเป็น สมุนไพรจากจีนที่มีประสิทธิภาพในการรักษาการอักเสบของผิวหนังต่างๆนั้น ส่วนใหญ่มีการผสมสาร steroid ทั้งนี้ทีมวิจัยได้เก็บตัวอย่างครีมมาทั้งหมด 11 ชนิด จากผู้ป่วยโดยตรง เทคนิคที่ใช้ในการตรวจสอบนั้น ได้ ใช้ เทคนิคที่เรียกว่า high resolution gas chromatography and mass spectrometry
ผลจากการตรวจสอบพบว่า 8 ใน 11 ครีมมีส่วนผสมของ Dexamethasone ( สาร steroid ที่รุนแรงชนิดหนึ่ง) กว่า 500 ไมโครกรัมจาก เนื้อครีม 1 กรัม ทีมวิจัยจึงสรุปให้มีการเสนอการควบคุมที่เข็มงวดกับสารสมุนไพรจากจีนที่นำเข้า มาขายในอังกฤษ ความแรงของส่วนผสมที่พบนี้มีค่าเท่ากับการใช้สาร steroid เช่น 0.05% betamethasone valeate ซึ่งสามารถหาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไปที่มีการควบคุมโดยเภสัชกร
ไม่เพียงแต่เท่านี้ ในปี 2003 กลุ่มแพทย์ชาวอังกฤษ อีกกลุ่มหนึ่ง ของโรงพยาบาล Birmingham Children’s Hospital ก็ได้รายงานความเป็นกังวลเกี่ยวกับเรื่องการใช้สาร steroid ในผู้ป่วยเด็กเพราะจากตัวอย่างครีมที่ได้มาจากผู้ป่วยระหว่างปี 2002-2003 ทั้งหมด 24 ตัวอย่างของครีมที่อ้างว่าเป็นครีมสมุนไพรนั้น เมื่อทำการตรวจวัดด้วยเทคนิค HPLC พบว่ามีสาร steroid ในครีมทั้งหมด 20 ชนิด โดยมีสาร steroid จำพวก clobetasol propionate , betamethasone valerate, clobetasone butyrate และ hydrocortisone ในบางรายมีความเข็มข้นถึง 20% ทั้งนี้ผู้ป่วยที่ได้รับสาร steroid โดยไม่รู้ตัวนี้มีอายุเฉลี่ยตั้งแต่ 0.69 ถึง 7.98 ปี ผู้รายงานสรุปว่าหน่วยงานที่รับผิดชอบความควบคุมดูแล และประชาสัมพันธ์อย่างทั่วถึงให้ประชาชนทราบถึงความเห็นแก่ตัวโดยไม่คำนึงถึงผลร้ายที่จะเกิดกับผู้บริโภคของผู้ผลิตครีมเหล่านี้
รายงานทั้ง 2 ฉบับนี้บ่งบอกถึงความรับผิดชอบต่อสังคมของแพทย์ที่มีจริยธรรม เพราะเป็นการวิจัยและรายงานจากทีมแพทย์ที่ไม่ได้มีหน้าที่โดยตรง
ทางนีตนาทคลินิกก็เป็นกังวลกับเรื่องนี้มากเช่นเดียวกันเพราะมีข้อมูลเบื้องต้นบ่งชี้ว่าครีมรักษาสิว ฝ้าที่ประชาชนได้รับมาไม่ว่าจากแพทย์ไม่ว่าจะเป็นแพทย์ผิวหนัง แพทย์ผิวพรรณ คนขายครีมทั่วไป น่าจะมีสาร steroid เจือปนมากชนิดเช่เดียวกัน
การติดตั้งเครื่อง HPLC เพื่อการตรวจวัดสาร steroid นั้นต้องสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายกว่า 8 ล้านบาท เป็นค่าเครื่อง ค่า ห้องปฏิบัติการ ค่าน้ำยาตรวจวิเคราะห์ และค่าจ้างนักวิทยาศาสตร์ประจำห้องปฏิบัติการ หาก หน่วยงานที่รับผิดชอบลงมาเก็บยาทาสิว ฝ้าเหล่านี้มาวิเคราะห์ก็จะดีไม่น้อย สถาบันโรคผิวหนังหรือภาควิชาตจวิทยาก็น่าจะมีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรง หาก ไม่มีใครทำ นีตนาทคลินิกคงจะยอมลงทุนติดตั้ง ระบบวัดนี้เองในไม่ช้านี้ เพื่อประโยชน์อะไรหรือครับ ก็เพื่อตอบแทนบุญคุณอาจารย์ที่ประสิทธิประสาทวิชาผิวหนังให้มา เพื่อก่อประโยชน์ให้ส่วนรวม ไม่เช่นนั้นก็ภือเป็นการอกตัญญูต่อครูบาอาจารย์และวิชาชีพที่เรียนมานั่นเอง
ทีมวิชาการ นีตนาทคลินิก 2007