fbpx

รอบรู้เรื่อง Botox

เหตุที่หมอต้องการเล่าสู่กันฟังในเรื่องของ “Botulinum toxin” หรือ “ โบท็อกซ์” นั้น เนื่องมาจาก คุณป้าแจ่ม เพื่อนบ้านที่หมอรู้จักดีมาปรึกษาเรื่องรอยย่นที่หางตา คำตอบที่คุณป้ามีให้หลังจากที่หมอถามว่า “ เคยฉีดโบท็อกซ์ รึยังคะคุณป้า” ก็คือ “ ป้ายังใหม่อยู่มากในเรื่องพวกนี้นะคะ แล้วป้าก็ไม่อยากฉีดสารพิษเข้าตัวเองหรอกค่ะ มันไม่ปลอดภัย”

หมอไม่ได้แปลกใจหรอกค่ะที่ได้ยินคุณป้าแจ่มพูดเช่นนั้น นั่นก็เพราะทุก ๆ ครั้งที่คนไข้ของหมอเองเดินเข้ามาแล้วพูดอะไรทำนองนั้น หมอเองก็มักจะต้องใช้เวลาพูดคุยกับคนไข้ เพื่อไขข้อสงสัยและให้ข้อมูลที่ถูกต้องเพื่อปรับความเข้าใจกันใหม่ทุกครั้ง

ป้าแจ่มกลัว ก็ด้วยเหตุที่คำว่า ท็อกซิน (toxin) แปลว่าสารพิษ เช่น Aflatoxin อฟลาท็อกซิน คือ พิษที่เชื้อราสร้างขึ้น เช่น ราในถั่วลิสงคั่ว หากรับประทานอาหารที่มีสารนี้เจือปนอยู่ก็จะเกิดเป็นมะเร็งตับได้ เป็นต้น

ในทางกลับกัน Botulinum toxin ไม่ได้ก่อให้เกิดมะเร็งแต่อย่างใด แต่เหตุที่มันมีชื่อว่า “ ท็อกซิน” ก็เพราะ ในยุคโบราณ ก่อนที่จะรู้ว่าอะไรเป็นอะไร มีโรคอาหารเป็นพิษชนิดหนึ่งซึ่งผู้ป่วยจะมีอาการ ตาลาย หายใจขัดและเสียชีวิตได้ โรคนั้นคือ Botulism ( คำว่าBotulus ภาษากรีก แปลว่าไส้กรอก ค่ะ สันนิษฐานว่าการระบาดครั้งใหญ่ๆ คงเกิดจากรับประทานไส้กรอกบูด เนื่องจากยังไม่มีตู้เย็นช่วยเก็บถนอมอาหารนั่นเอง)

ต่อมาในปี ค.ศ. 1895 ณ ประเทศเบลเยียม ก็ได้มีแพทย์ผู้ตั้งสมมติฐานหาสาเหตุการป่วยของคนไข้ 34 คน หลังจากรับประทานแฮมดิบ และอีกไม่กี่สิบปีหลังจากนั้นก็ได้มีแพทย์ผู้สามารถสกัดเอาสารโปรตีนออกมาจากแบคทีเรียนั้นได้ ซึ่งก็คือ ท็อกซิน ที่ก่อโรคในอดีตนั่นเอง

โปรตีน ตัวนี้มีคุณสมบัติกั้นกระแสประสาทระหว่างเซลล์ประสาทกับกล้ามเนื้อ เพื่อลดการหดตัว ทำให้ริ้วรอยบริเวณนั้นลดลง โดยมิได้ทำลายเส้นประสาทหรือกวนการสร้างสารสื่อประสาทแต่อย่างใด

Botulinum toxin ถูกเริ่มนำมาใช้ในการแพทย์ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1950 ในระยะแรกเป็นการนำมาใช้เพื่อการรักษาโรคก่อน เช่น ตาเหล่ ตาเข ตากระตุก ต่อมาในปี ค.ศ. 1987 ได้มีการรายงานว่าผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาโรคนี้ มีริ้วรอยบนใบหน้าน้อยลง ทำให้การนำยาตัวนี้มาใช้เพื่อความงามเป็นไปอย่างแพร่หลายมากขึ้น อีกทั้งมีการคิดค้นและพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้งเพื่อให้ได้สารที่บริสุทธิ์ที่สุดสำหรับใช้ทั้งในการรักษาโรค และ เพื่อความงาม โดยปัจจุบันนี้ในสหรัฐอเมริกามีผู้เข้ารับการรักษาด้วยโบท็อกซ์เพื่อความงามกว่าสิบล้านครั้ง

เร็ว ๆ นี้ FDA สหรัฐอเมริกาได้รายงานเกี่ยวกับความปลอดภัยของการใช้ Botulinum toxin type A (Botox) และ type B (Myobloc) ว่าทางองค์การได้รับรายงานเกี่ยวกับผลข้างเคียงจากการใช้ยาทั้งสองชนิดซึ่งคืออาการ Botulism บางรายมีอาการทางเดินหายใจบกพร่อง และถึงแก่ชีวิต พบในกรณีที่ใช้ยาเพื่อรักษาผู้ป่วยเด็ก โรค Cerebral palsy โรคนี้มีอาการกล้ามเนื้อหดเกร็งจากสมองที่ผิดปกติ ต้องใช้ปริมาณยาโบท็อกซ์(Botox ?) มากถึง 6.25 – 32 ยูนิต ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ถ้าในคนที่หนัก 50 กก. ก็จะเป็นตัวยาถึง 312.5-1600 ยูนิตทีเดียว ( หากเป็นการใช้ในเรื่องความสวยงามจะใช้ครั้งละเพียง 20-50 ยูนิตซึ่งน้อยมากเมื่อเทียบกับการใช้โบทอกซ์ในการรักษาโรค ) สำหรับอาการข้างเคียงจากยาที่รักษาโรคในผู้ป่วยผู้ใหญ่ยังไม่มีรายใดถึงแก่ชีวิต มีแต่เพียงอาการกลืนยาก และหนังตาตกเท่านั้น

การเตือนในครั้งนี้สะท้อนให้เห็นหน้าที่ขององค์การซึ่งมีหน้าที่ปกป้องประชาชน มิใช่จะปล่อยให้วัวหายล้อมคอกในภายหลัง และไม่ได้มีวัตถุประสงค์ให้ประชาชนตื่นตระหนกแต่อย่างใด

สำหรับปริมาณโบท็อกซ์ (Botox ) ที่ใช้เพื่อความงามเรามักใช้ไม่เกิน 50 ยูนิตในแต่ละครั้งค่ะ ซึ่งเล็กน้อยมากเมื่อเทียบกับปริมาณที่ใช้เพื่อการรักษาโรคบางโรค ดังนั้นคนรักสวยรักงามก็สบายใจได้เลยค่ะสงสัยจะอธิบายมาพอสมควรแล้วเพราะหมอเหลือบไปเห็นป้าแจ่มนั่งอ้าปากหวอ ตาปรืออยู่ตรงหน้า แล้วก็พูดว่า “ ฉีดเลยวันนี้ได้ไหมค่ะคุณหมอ ?”

การใช้สารโบทูลินัม ทอกซิน เอ ( Botulinum toxin type A ) กันอย่างแพร่หลาย สารชนิดนี้ในประเทศไทยที่ผ่านการรับรองความปลอดภัยจาก อย. ไทย คือ ยี่ห้อ Botox จากบริษัท Allergan อเมริกาเป็นยี่ห้อที่นิยมใช้กันมากและนานที่สุด ปลอดภัย อีกยี่ห้อคือ Dysport จากอังกฤษ ปัจจุบันมีการลักลอบนำสารโบทูลินัม ทอกซิน เอ ( Botulinum toxin type A ) จากประเทศจีนและเกาหลีซึ่งมีราคาถูกกว่าสารต้นแบบBotox ? มาฉีดให้กับคนไทยเป็นจำนวนมาก จึงควรสอบถามแพทย์ทุกครั้งก่อนการฉีด ส่วนนีตนาทคลินิก และ เอสวีเจเลเซอร์คลินิก ไม่มีนโยบายนำสารที่ไม่ผ่านการรับรองจาก อย. มาใช้ จึงมั่นใจได้ว่าทุกครั้งที่ฉีดสารโบทูลินัม ทอกซิน เอ ( Botulinum toxin type A ) กับทางคลินิกเป็นของแท้จากบริษัท Allergan เท่านั้น

:: Share This ::

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *